กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการป้องกันอุบัติภัยในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 – 5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหิน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันอุบัติภัยในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 – 5 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหิน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหิน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฝีอ๊ะ โสธามาต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การที่เด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ๙๙ % สาเหตุเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยรายงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ยังเผยว่า มีเด็กไทยเพียง ๗% เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัยระหว่างการเดินทาง ซึ่งอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อย สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร รวมไปถึงการดูแลความปลอดภัยในการรับ - ส่งเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ – ส่งนักเรียนในเรื่องต่างๆ อย่างเคร่งครัด เนื่องจากในปัจจุบันเกิดเหตุการณ์ลืมนำเด็กปฐมวัยลงจากรถ จนทำให้เด็กถึงแกชีวิตในหลายครั้ง การรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐาน การเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง รวมถึงการดูแลความปลอดภัยในการรับ - ส่งเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัย เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ถนนและการดูแลความปลอดภัยในการรับ - ส่งเด็กนักเรียน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย พร้อมอบรมการใช้งานที่ถูกวิธี และการดูแลความปลอดภัยในการรับ - ส่งเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหินได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนและการดูแลความปลอกภัยในการรับ - ส่งเด็กนักเรียนของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหิน เพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นและรู้วิธีแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ จึงได้จัดทำโครงการการป้องกันอุบัติภัยในเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 - ๕ปีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกหินสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
  1. ร้อยละ 70 เด็กทุกคนสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน
  1. ร้อยละ 70 เด็กและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน
0.00
3 ๓. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยของรถ
  1. ร้อยละ 80 เด็กและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยของรถ
0.00
4 ๔. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีทักษะในการขอความช่วยเหลือขณะติดอยู่ในรถ
  1. รอยละ 70 เด็กปฐมวัยทุกคนมีทักษะในการขอความช่วยเหลือขณะติดอยู่ในรถ
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,030.00 0 0.00
1 พ.ย. 66 - 31 มี.ค. 67 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 8,030.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ๒. เด็กและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบวินัยจราจร รวมถึงการมีจิตสำนึกที่ดีในการใช้รถใช้ถนน ๓. เด็กและผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยของรถ ๔. เด็กปฐมวัยมีทักษะในการขอความช่วยเหลือขณะติดอยู่ในรถ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566 00:00 น.