กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

พัฒนาระบบเครือข่ายการติดตามและให้บริการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โรคในเด็ก อายุ 0-5 ปี ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสปี 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาระบบเครือข่ายการติดตามและให้บริการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โรคในเด็ก อายุ 0-5 ปี ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7487-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตากใบ
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ของโรงพยาบาลตากใบ พบว่าในปี 2560 มีเด็ก 0–5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค เฉลี่ย 40 คนต่อสัปดาห์ และมีเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เฉลี่ย 10 คนต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 25 ซึ่งการที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ตรงตามกำหนด เช่น ได้รับวัคซีนก่อนหรือหลังเกณฑ์กำหนด หรือ ระยะห่างในการรับวัคซีนแต่ละชนิดไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนบางชนิดลดลง หรือทำให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ทั้งนี้ปัญหาที่พบส่วนหนึ่ง เกิดจากผู้ปกครองเด็กที่ไม่พาเด็กมารับวัคซีนตามนัด เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่มาวันนัด, ติดธุระ/ภารกิจสำคัญ ในวันที่มีการฉีดวัคซีน หรือพาเด็กย้ายออกนอกพื้นที่อื่น เป็นต้น

ดังนั้น งานควบคุมโรคติดต่อกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลตากใบตากใบได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดแนวคิดที่จะต้องพัฒนาให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาบุคลากรและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยเน้นการให้บริการแบบเชิงรุก การติดตามเด็กมารับวัคซีน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อ ให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการติดตามให้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

 

0.00
2 2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด และประชาชนมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการ

 

0.00
3 3. เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจุดให้บริการในแต่ละชุมชน
    1. จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ปกครองและประชาชนเพื่อสร้างแรงจูงใจและให้เกิดความตระหนักเล็งเห็นความสำคัญในการฉีดวัคซีน
  2. ประชาสัมพันธ์ผ่านทางหอกระจายข่าวหมู่บ้าน/มัสยิด/ผู้นำชุมชน/อสม.
    1. นัดกลุ่มเป้าหมายในเขตบ้านรับผิดชอบของ อสม.ในแต่ละเขต และให้บริการฉีดวัคซีนในทุกบ่ายวันพุธ
    2. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลงานการดำเนินงานความครอบคลุมอัตราการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ได้ครบชุดตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
    1. เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด และประชาชนมีความพึงพอใจต่อการได้รับบริการ
    2. ไม่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2560 14:56 น.