กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

ส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียน“ตากใบยิ้มสวย” อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายโรงเรียน“ตากใบยิ้มสวย” อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7487-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดีช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพในช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปากมิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้นั่นคือ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งดีกว่าการรักษาเพราะกระทำในสภาพปกติ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ต้องทนทรมานในการปวดฟันไม่ต้องยุ่งยาก ไม่เสียเวลาในการรักษา ไม่เสียเงินค่ารักษามากและที่สำคัญคือไม่ต้องสูญเสียฟัน
การส่งเสริมทันตสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัย โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปาก และพฤติกรรมการบริโภคอันเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิด โรคฟันผุ เหงือกอักเสบ การสำรวจทันตสุขภาพเด็กประถมศึกษาในเขตอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ปี 2559 พบว่าเด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุร้อยละ 53.7 ค่าเฉลี่ยผุถอนอุด 1.4 ซี่/คน และเหงือกอักเสบ ร้อยละ 23 สำหรับสถานการณ์สุขภาพช่องปากปี 2559 ของโรงเรียนบ้านหัวคลอง ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบพบว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเป็นโรคฟันแท้ผุ ร้อยละ 48.6 โดยฟันแท้จะเริ่มงอกขึ้นสู่ช่องปากเมื่อเด็ก มีอายุประมาณ 7 ปี หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนจำนวนมาก มีสภาวะการผุลุกลามของฟันแท้อย่างรวดเร็ว นับอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง ซึ่งส่งผลต่อการสูญเสียฟันบางส่วนหรือทั้งปากในที่สุด
ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านหัวคลอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนเด็กฟันดีอำเภอตากใบ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสปีงบประมาณ ๒๕60 ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนและส่งเสริมกิจกรรมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในกลุ่มเด็กนักเรียน ประถมศึกษา

 

0.00
2 2. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในโรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี

 

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษามีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการดูสุขภาพช่องปากของตนเอง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๑ จัดทำเล่มแบบการตรวจสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันพร้อมลงบันทึกประจำตัวนักเรียน ป.๑-ป.๖ โดยครู/ผู้ปกครอง ลงข้อมูลการตรวจ หากพบปัญหาฟันแท้ผุและปัญหาเร่งด่วนจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับบริการทันตกรรมและแก้ไขปัญหา กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๒ จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพโดยทันตบุคลากรโรงพยาบาลตากใบ
กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๓ โรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนคิดค้นนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากโรงเรียนละ 1 นวัตกรรม กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๔ โรงเรียนจัดกิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในสถานศึกษาหลังอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวัน โดยสถานศึกษา มีบทบาทในการจัดสถานที่และน้ำที่ใช้แปรงฟัน จัดหาและจัดเก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน จัดกิจกรรมแปรงฟันอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการแปรงฟัน เช่น การตรวจความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ การฝึกทักษะการแปรงฟัน การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การดูแลทันตสุขภาพ การให้ทันตสุขศึกษารายกลุ่ม โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม เพื่อกระตุ้นความสนใจ สร้างกระแสและสร้างเจตคติที่ดีให้แก่เด็ก ภายใต้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ บริหารจัดการ และทรัพยากรที่จำเป็นจากสถานบริการสุขภาพ กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๕ การพัฒนาทีมงาน เพื่อให้มีเจตคติ และทักษะในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนร่วมกับครอบครัวและชุมชน กิจกรรมดำเนินงานที่ ๒.๖ นิเทศติดตามการดำเนินงานจากทันตบุคลากรโรงพยาบาลปีละ 2 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในกลุ่มเด็กนักเรียนแบบมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนประถมศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานบริการสุขภาพ
  2. โรงเรียนประถมศึกษาเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน
  3. เด็กนักเรียนในโรงเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการดูสุขภาพช่องปากของตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2560 14:58 น.