กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8291-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,974.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนันทะ ทองเพ็ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การที่ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ซึ่งการส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่เจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง การเลือกซื้ออาหารที่สะอาดปลอดภัยและปราศจากสารปนเปื้อนก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งแหล่งที่มาของอาหารนั้นมาจากตลาดสด ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการซื้อขายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ซึ่งอาจจะมีสารปนเปื้อนในกระบวนการผลิตและขนส่ง หากได้รับเกินค่ามาตรฐานอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ นอกจากนี้ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารในร้านอาหาร ซึ่งผู้ปรุงอาหารนิยมใส่สารต่างๆ เพื่อให้มีรสชาติดีหรืออร่อยขึ้น หรือเพื่อไม่ให้อาหารบูดและเน่าเสีย และการสัมผัสอาหารของผู้ประกอบการก็อาจไม่สะอาดเท่าที่ควร สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น การดำเนินงานด้านสุขาภิบาลอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการได้รับสารปนเปื้อนน้อยที่สุด นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยาหรือเครื่องสำอางที่ผสมสารอันตราย ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพตามมา จากการลงพื้นที่ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวทั้ง ๕ ชุมชน จำนวน ๓๓๐ ราย พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือดเกินค่ามาตรฐาน จำนวน ๒๒๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๔๔ (ข้อมูลจากโรงพยาบาลย่านตาขาว ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖) และจากการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสารปนเปื้อน จำนวน ๑๕๑ ตัวอย่าง พบสารปนเปื้อนจำนวน ๔๗ ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๑๓ โดยพบสารฟอร์มาลีนจำนวน ๑ ตัวอย่าง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน ๓๓ ตัวอย่าง โคลิฟอร์มแบคทีเรียบนมือจำนวน ๔ ตัวอย่าง    โคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร จำนวน ๕ ตัวอย่าง และสารเร่งเนื้อแดงจำนวน ๔ ตัวอย่าง ซึ่งจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลย่านตาขาว เล็งเห็นถึงความสำคัญและความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร สารอันตรายในผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้บริโภค และสร้างแกนนำในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน อันจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ไม่พบสารปนเปื้อนร้อยละ ๖๐ ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจ

2 ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสุขาภิบาลอาหาร

ผู้สัมผัสอาหารที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสุขาภิบาลอาหารเพิ่มขึ้น  ร้อยละ ๘๐

3 อาสาสมัครแกนนำนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

อาสาสมัครแกนนำนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ หลังผ่านการอบรมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ ๘๐

4 แกนนำสุขภาพเทศบาลตำบลย่านตาขาวผ่านการทดสอบและได้รับเกียรติบัตรเป็น อสม.นักวิทย์

แกนนำสุขภาพเทศบาลตำบลย่านตาขาวผ่านการทดสอบและได้รับเกียรติบัตรเป็น อสม.นักวิทย์ ร้อยละ ๕๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยและผู้ที่สัมผัสอาหารดำเนินกิจการตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร ส่งผลให้ประชาชนได้รับประทานอาหารที่สะอาดและมีคุณภาพ ๒. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารมากขึ้น สามารถลดปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ฝ่าฝืนกฎหมายและเรื่องร้องเรียนด้านอาหารในพื้นที่ ๓. สร้างแกนนำและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบข้อมูลงานคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ๔. ดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารและงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง มีศูนย์แจ้งเตือนภัยและระบบแจ้งเตือนภัยที่ดี สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2566 13:34 น.