กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมทีมงาน และ ร่วมออกแบบกิจกรรม 1 เม.ย. 2567

 

 

 

 

 

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 1 เม.ย. 2567 1 เม.ย. 2567

 

จัดทำสื่อเรื่องอาหารที่เหมาะสมกับวัย

 

ได้สื่อเรื่องอาหาร ใว้เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ต่อไป

 

จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุชุมชนบูรพา 1 เม.ย. 2567

 

 

 

 

 

ติดตาม และประเมินผล 1 ส.ค. 2567 31 ส.ค. 2567

 

คณะทำงานลงติดตามประเมินผล

 

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม มีความผ่อนคลาย ได้รับการดูแลจากคณะกรรมการ

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการคัดกรองสุขภาพและให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 1 เม.ย. 2567 13 ส.ค. 2567

 

จัดประชุมผู้สูงอายุในชุมชบูรพา โดยให้ความรู้และเน้นในเรื่องกิจกรรมต่างๆในลักษณะผ่อนคลายโดยยึดว่า
"ผู้สูงอายุ ร่างกายขยับ จิตใจก็เบิกบาน"เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้สูงอายุเคยมีสังคม เคยเป็นผู้นำ และเคยทำอะไรต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่พอมาถึงจุด
ที่ต้องเกษียณตัวเองออกมาอยู่บ้านย่อมส่งผลให้รู้สึกว่าตัวเองสูญเสียอะไรหลายอย่างไป การจัด
“กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ” หรือ “งานอดิเรก” จึงเป็นทางเลือกเพื่อคลายความเหงา สร้างความสุข
และช่วยขจัดความเครียดให้แก่ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีโดยกิจกรรมต่าง ๆ นั้นต้องเป็นกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจด้วย
7 กิจกรรมสำหรับ...ผู้สูงอายุ ร่างกายขยับ จิตใจก็เบิกบาน
1. ออกกำลังกาย พิชิตโรค ชวนผู้สูงอายุไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ หรือที่ลานกว้าง
จะช่วยป้องกันภาวะโรคกระดูกพรุน เริ่มจากการเดินช้า ๆ สลับกับเดินเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่ม
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพลินไปกับการมองดอกไม้ต้นไม้ หรือจะกระตุ้นด้วยกิจกรรมใหม่ๆ
2. แชร์ความรู้ แบบวิทยากรมือ 1 กิจกรรมรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น
ด้วยการใช้วุฒิภาวะและประสบการณ์ที่ตนมี จึงสามารถเป็นที่ปรึกษา แบ่งปันความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ เช่น
งานฝีมือ ทำอาหาร ทำขนมสูตรโบราณ เย็บปักถักร้อย การใช้ชีวิต เป็นต้น การแบ่งปันความรู้เช่นนี้ไม่เพียง
แต่ช่วยสืบทอดวิชาชีพให้คงอยู่ แต่ยังทำให้ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจได้อีกด้วย
3.กิจกรรมการใช้เวลาว่างจากการได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ จะช่วยพัฒนาด้านจิตใจ
และยังช่วยให้กระตุ้นสมองใช้จดจำสิ่งใหม่ ๆ
4. ท่องเที่ยวช่วยสร้างความสุขความสนุกได้เป็นอย่างดี ช่วยลดความเบื่อหน่าย
และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น เช่น การท่องเที่ยวตามแหล่ง
อารยธรรมหรือธรรมชาติที่สวยงาม ดูวิถีชีวิตคนท้องถิ่น แต่เราควรดูรายละเอียดการเดินทางให้ดี
ให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทำให้การท่องเที่ยวได้อย่างราบรื่น 5.ส่งต่อประเพณี สู่ลูกหลาน ทำให้จิตใจของเราสงบ จากความพร้อมหน้าพร้อมตาของครอบครัว
ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับครอบครัวในวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ ในบางครอบครัวที่ ต้องแยกย้ายกันไปทำงานที่อื่น ก็ได้กลับมาพบปะสังสรรค์กัน ช่วยสร้างรอยยิ้มและเสียง
หัวเราะให้กับผู้สูงอายุได้ 6.พัฒนาสังคม ด้วยจิตอาสา อาจเป็นการช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคม ทำจิตอาสาเล็กน้อย
ตามสถานที่ต่าง ๆ
7. ฝึกจิตด้วยการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรม เช่น สวดมนต์เพื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์ การถือศีล 5 หรือศีล 8 เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุมักจะปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้สำรวมกาย วาจา ใจ ฝึกกำหนดรู้ในทุก ๆ อิริยาบทและ ลมหายใจ ธรรมะจึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจความเป็นไปของโลก
ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น จึงเกิดความสุขสงบอย่างแท้จริง
กิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใดการที่ผู้สูงอายุจะมีอายุที่ยืนยาวได้นั้น ล้วนแล้วต้องพึ่งพาการดูแลและเอาใส่ใจที่ดีจากลูกหลานและคนในครอบครัว ดังนั้นลูกหลานควรสนับสนุนให้ผู้สูงอายุในครอบครัวของตัวเองได้มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกทำในยามว่าง แต่กิจกรรมต่าง ๆ ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความชอบส่วนตัว และประโยชน์ที่มีต่อผู้สูงอายุด้วย

 

ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมการแส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจด้วย ละเป็นแบบอย่างดีต่อไป
กิจกรรมหลักภายใต้นโยาบาว่า"ผู้สูงอายุ ร่างกายขยับ จิตใจก็เบิกบาน"
1. ออกกำลังกาย พิชิตโรค ชวนผู้สูงอายุไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ หรือที่ลานกว้าง
จะช่วยป้องกันภาวะโรคกระดูกพรุน เริ่มจากการเดินช้า ๆ สลับกับเดินเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่ม
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพลินไปกับการมองดอกไม้ต้นไม้ หรือจะกระตุ้นด้วยกิจกรรมใหม่ๆ
เช่น โยคะผู้สูงอายุ
2. แชร์ความรู้ แบบวิทยากรมือ 1 กิจกรรมรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น
ด้วยการใช้วุฒิภาวะและประสบการณ์ที่ตนมี จึงสามารถเป็นที่ปรึกษา แบ่งปันความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ เช่น
งานฝีมือ ทำอาหาร ทำขนมสูตรโบราณ เย็บปักถักร้อย การใช้ชีวิต เป็นต้น การแบ่งปันความรู้เช่นนี้ไม่เพียง
แต่ช่วยสืบทอดวิชาชีพให้คงอยู่ แต่ยังทำให้ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจได้อีกด้วย
3.กิจกรรมการใช้เวลาว่างจากการได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ จะช่วยพัฒนาด้านจิตใจ
และยังช่วยให้กระตุ้นสมองใช้จดจำสิ่งใหม่ ๆ
4. ท่องเที่ยวช่วยสร้างความสุขความสนุกได้เป็นอย่างดี ช่วยลดความเบื่อหน่าย
และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น เช่น การท่องเที่ยวตามแหล่ง
อารยธรรมหรือธรรมชาติที่สวยงาม ดูวิถีชีวิตคนท้องถิ่น แต่เราควรดูรายละเอียดการเดินทางให้ดี
ให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทำให้การท่องเที่ยวได้อย่างราบรื่น 5.ส่งต่อประเพณี สู่ลูกหลาน ทำให้จิตใจของเราสงบ จากความพร้อมหน้าพร้อมตาของครอบครัว
ร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับครอบครัวในวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ ในบางครอบครัวที่ ต้องแยกย้ายกันไปทำงานที่อื่น ก็ได้กลับมาพบปะสังสรรค์กัน ช่วยสร้างรอยยิ้มและเสียง
หัวเราะให้กับผู้สูงอายุได้ 6.พัฒนาสังคม ด้วยจิตอาสา อาจเป็นการช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคม ทำจิตอาสาเล็กน้อย
ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น บ้านเด็กกำพร้า บ้านพักคนชรา นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกจิตใจ
เบิกบานแล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับคนที่อายุใกล้เคียงกัน
เพื่อปรึกษาหรือแชร์ประสบการณ์ในชีวิตร่วมกับผู้อื่นด้วย
7. ฝึกจิตด้วยการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรม เช่น สวดมนต์เพื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์ การถือศีล 5 หรือศีล 8 เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุมักจะปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้สำรวมกาย วาจา ใจ ฝึกกำหนดรู้ในทุก ๆ อิริยาบทและ ลมหายใจ ธรรมะจึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจความเป็นไปของโลก
ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น จึงเกิดความสุขสงบอย่างแท้จริง
กิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใดการที่ผู้สูงอายุจะมีอายุที่ยืนยาวได้นั้น ล้วนแล้วต้องพึ่งพาการดูแลและเอาใส่ใจที่ดีจากลูกหลานและคนในครอบครัว ดังนั้นลูกหลานควรสนับสนุนให้ผู้สูงอายุในครอบครัวของตัวเองได้มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกทำในยามว่าง แต่กิจกรรมต่าง ๆ ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความชอบส่วนตัว และประโยชน์ที่มีต่อผู้สูงอายุด้วย