กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจิตหมู่ที่ 5 -12 ตำบลพนางตุง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3323-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,772.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัฏยาพร แก้วพลับ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1999 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1999 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 4 กลุ่มโรคหลักคือโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกถึงปีละ 38 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิตข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อ NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยโดยมีคนไทยป่วยเป็นโรค NCDs ถึง 14 ล้านคนเสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คนและคาดว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกๆปีซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี สะท้อนภาพการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร ซึ่งถ้าคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมที่เสียไปแล้วนับว่าสูงมากถึงร้อยละ 40 ของมูลค่างบประมาณภาครัฐไทยทั้งหมด (ธีระ วราธนารัตน์ 2561) สำหรับประเทศไทยมีข้อมูลชัดแล้วว่าขณะนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 320,000 คนต่อปี โดยในทุก 1 ชั่วโมงมีผู้เสียชีวิต 37 ราย ทั้งนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมองรองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้น เบาหวานและความดันโลหิตสูงตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข ,2561)     จากการคัดครองโรคความดันโลหิตสูงโรค เบาหวานของตำบลพนางตุง พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2565-2566 ดังนี้ 326.44,437.43 ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงปีงบประมาณ  2565 - 2566 ดังนี้ 88.06,1046.71ต่อแสนประชากร ตามลำดับได้มีการตรวจและควบคุมระดับน้ำตาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลปีงบประมาณ 2565 - 2566 ได้ดี มีแนวโน้มที่ดีขึ้น 84.81,86.43 มีผู้ป่วยที่ควบระดับความดันโลหิตสูงได้ดีปี 2565 - 2566 คิดเป็น ร้อยละ 60.98 และ 66.67 ตามลำดับ การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสมารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพจิต

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

2 1.2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับความรู้ในการปฏิบัติตนให้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ในการปฏิบัติตน และสามารถมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

3 1.3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ และเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างเป็นระบบ

กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการพบแพทย์ วินิจฉัยโรค และเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประเมินสุขภาพจิต อายุ 35 ปี ขึ้นไป(27 ธ.ค. 2566-27 ธ.ค. 2566) 30,772.00                
รวม 30,772.00
1 คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประเมินสุขภาพจิต อายุ 35 ปี ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 30,772.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประเมินสุขภาพจิต อายุ 35 ปี ขึ้นไป 0 30,772.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง และโรคทางจิต ร้อยละ 90 6.2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เพิ่มขึ้น 6.3 ประชากรกลุ่มป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 และควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 6.4 ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 09:33 น.