กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์ไล่ยุง ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2482-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 4 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาวรรณ ศรีสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.175,102.052place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 10,080.00
รวมงบประมาณ 10,080.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันยุงเป็นพาหะโรค อันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก เช่นโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น โดยเฉพาะไข้เลือดออกทีี่มีผุ้ป่วยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และถือเป้นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมดดยเร็ว ทั้งนี้โรคไขเลือดออกโดยมียุงลายเป็นพานะ เมื่อยุงลายกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้ ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มากขึ้นจากน้ำขังตามที่ต่างๆจึงสังเกตได้ว่าช่วงฤดูฝนของทุกปีเป้นช่วงทีมีอัตราการระบาดของโรคสูง นอกจากยุงลายที่เป็นพานะของไข้เลือดออกแล้วยุงชนิดอื่นๆ ยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดมาสุ่มมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องหาวิธีการป้องกันยุงกัด ซึงมีหลากหลายวิธี ตั้งแตวิธีการกายภาพ วิธีชีวภาพ และการใช้สารเคมี วิธีที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้เอง และในการกำจัดยุงในบริเวณกว้างจะต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก สารเคมีเหล่านี้จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพิษทั้งต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ทั้งยังทำให้เกิดปํญหาต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมตามมา นอกจากนี้การใช้สารเคมีในระยะยาวยังทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมีอีกด้วย และอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมีผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดการหายใจขัดข้อง หรืออาการรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึงในเขตตำบลโฆิษิตประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่นทำสวนยางพารา ปลูกผัก ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดอกกได้ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาง มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากสถิติ 3 ปีย้อนหลังดังนี้ ปี พ.ศ. 2567 ผุ้ป่วย 0 ราย , ปี 2566 ผุ้ป่วย 15 ราย ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสรรพคุรในการไล่ยุง ซึ่งการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นสเปรย์ใล่ยุงนอกจากจะช่วยลดการใช้สรเคมีแล้วนั้น ยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมี ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและเพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ๗ึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์ไล่ยุ่ง ประจำปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสมุนไพรไล่ยุงและขั้นตอนการทำสเปรย์ 2.เพื่อนำผลิตภัณฑ์มาใช้ไล่ยุงกัดป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.ประชาชนทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุงได้เอง 2.ไม่มีผุ้ป่วย และเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 มี.ค. 67 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสเปรย์ไล่ยุง ประจำปี 2567 60 10,080.00 -
รวม 60 10,080.00 0 0.00
  1. ประชุมวางแผน และชี้แจ้งรายละเอียดโครงการแก่ผุ้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการตามโครงการ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไล่ยุง และขั้นตอนการทำสเปรย์
  3. ให้ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกปฏิบัติการทำสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง
  4. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องสมุนไพรไล่ยุง และขั้นตอนการทำสเปรย์
  2. สามารถนำความรู้ไปพัฒนาและใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 09:54 น.