กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริการทันตกรรมเชิงรุกในเด็กนักเรียนประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3323-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 46,806.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอภัยรัตน์ มุขตา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,100.14place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 158 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน ถือว่าเป็นงานที่สำคัญประการหนึ่งของอนามัยโรงเรียนที่ต้องเข้าไปมีบทบาทในการให้บริการทางด้านสาธารณสุขที่ภาครัฐจัดให้แก่ประชากรกลุ่มวัยเรียนและเยาวชน ดังนั้นกลุ่มเด็กวัยเรียน    และเยาวชนควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากเด็กวัยเรียนเป็นวัยพื้นฐานของการเจริญเติบโต จำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยเรียนต้องได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม  เพื่อก้าวหน้าสู่วัยทำงานที่มีคุณภาพ ดังนั้นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาเด็กวัยเรียนควบคู่ไปกับการศึกษาจึงเกิดขึ้น    โดยมีโรงเรียนซึ่งถือเป็นสถาบันทางสังคมพื้นฐาน และที่สำคัญมีหน้าที่พัฒนาเยาวชนให้มีศักยภาพสามารถดำรงชีวิต  ในสังคมได้อย่างปกติสุข และเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น  ของการปลูกฝังความรู้ ทางสุขภาพ ทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง    และพัฒนากลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี มีศักยภาพและ คุณภาพที่พึงประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาประเทศต่อไป จากการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง ได้มีการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน โดยการค้นหานักเรียนที่มีปัญหาด้านทันตสุขภาพ เพื่อได้รับคำแนะนำ/ส่งต่อเพื่อตรวจรักษาอย่างถูกต้อง งานทันตกรรม  สำหรับเด็กมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการดูแลทันตสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นงานส่งเสริมป้องกัน ทันตสุขภาพที่มีคุณภาพ ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของเด็กในการดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปากของตนเอง      จากการดำเนินงาน ทันตกรรมในเด็กวัยเรียนปีงบประมาณ 2566 พบว่าเด็กวัยเรียนเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 52 เฉลี่ยมีฟันผุ 1.2iซี่/คน ฟันดีไม่ผุ (Cavityifree) ร้อยละ 79.09 ปราศจากฟันผุ (Cariesifree) ร้อยละ 48 และโรคเหงือกอักเสบ  ร้อยละ 42.62 ส่วนพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพพบว่าเด็กไม่เคยแปรงฟันหลังอาหารกลางวันร้อยละ 50.30 แปรงฟันก่อนนอน ร้อยละ 42.60 แสดงให้เห็นว่าเด็กมีพฤติกรรมการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบสูง ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพนางตุง จึงได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์การแปรงฟันที่มีคุณภาพพร้อมกับให้บริการขูดหินปูน อุดฟันและ    เคลือบหลุมร่องฟันขึ้น ทั้งนี้จำต้องมีเครื่องขูดหินปูนและเครื่องฉายแสงเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการทันตกรรม      ในเด็กนักเรียน ซึ่งหากมีการบริการทันตกรรมเชิงรุกในโรงเรียน จะส่งผลให้เด็กได้รับบริการทันตกรรมอย่างทันท่วงที  ไม่จำเป็นต้องรอคิวรับบริการเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ประกอบกับเด็กได้รับการดูแลส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพอย่างเหมาะสมในกิจกรรมตรวจคัดกรองและให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น จะสามารถควบคุมและลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กประถมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนชั้น อ.2 - ชั้น ป.6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียน ชั้น อ.2 - ป.6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
2 2. เพื่อให้นักเรียนชั้น อ.2 - ชั้น ป.6 ที่พบปัญหาได้รับการรักษาตามความจำเป็น เช่น ถอนฟัน,ขูดหินปูน, อุดฟัน,เคลือบหลุมร่องฟันและทาฟลูออไรด์วานิช
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น อ.2 - ชั้น ป.6  ที่พบปัญหาได้รับการรักษาตามความจำเป็น  เช่น ถอนฟัน,    ขูดหินปูน,อุดฟัน,เคลือบหลุมร่องฟันและทาฟลูออไรด์วานิช
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ตรวจสุขภาพช่องปาก(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 46,806.00                  
รวม 46,806.00
1 ตรวจสุขภาพช่องปาก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 46,806.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ตรวจสุขภาพช่องปาก 0 46,806.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1. นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและแปรงฟันอย่างถูกวิธี
6.2. นักเรียนมีสุขภาพช่องปาก สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 09:57 น.