กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขากอบ


“ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ”

ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายชุมพล ตันกุลโรจน์

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗

ที่อยู่ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 67-L1526-1-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขากอบ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 67-L1526-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 21,720.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขากอบ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่        กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี     จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 256๖ จากสำนักงานระบาดวิทยาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทย (Dengue fever : DF,Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 41,527 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.27 ต่อแสนประชากร พบรายงานผู้เสียชีวิต 36 ราย (ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2566)
    เขตสุขภาพที่ ๑๒ ได้รับรายงานผู้ป่วย ทั้งสิ้น 5,317 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 106.53 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 7 ราย        อัตราป่วยตายละ 0.15 (สงขลา 2, ตรัง 2, สตูล 2, และยะลา 1 ราย) (ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2566)     ผู้ป่วยไข้เลือดออกในจังหวัดตรัง ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 349 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย 54.68 ต่อแสนประชากร รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย (ห้วยยอด, ย่านตาขาว) คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.57 ต่อแสนประชากร
    ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอห้วยยอด ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 22 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย 23.48 ต่อแสนประชากร รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (ม.2 ลำภูรา) คิดเป็นอัตราป่วยตาย 4.54 ต่อแสนประชากร
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ มีผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกที่ต้องเฝ้าระวัง (Active case) แล้ว จำนวน ๑๙ ราย อัตราป่วย ๕๕๙.๑๕ ต่อแสนประชากร จำนวนผู้ป่วยที่ยืนยันจำนวน ๑ ราย อัตราป่วย 36.29 ต่อแสนประชากร ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มจะระบาดมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีฝนตกและอากาศร้อนเป็นช่วงๆ ส่งผลให้มีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีการต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง     จากสถานการณ์อุทกภัยและภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่ตำบลเขากอบเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospirosis) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันเนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้
    จังหวัดตรังได้รับรายงานผู้ป่วยโรค Leptospirosis จำนวนทั้งสิ้น ๑๒๕ ราย อัตราป่วย ๑๙.๕๓ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต ๔ ราย อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ ๓.๒0
    อำเภอห้วยยอดได้รับรายงานผู้ป่วยโรค Leptospirosis จำนวนทั้งสิ้น ๖ ราย อัตราป่วย ๖.๔๐ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต ๒ ราย อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ ๓๓.๓๓     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ 256๗ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกและโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 307
    กลุ่มวัยทำงาน 1,680
    กลุ่มผู้สูงอายุ 802
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงและไม่เกิด Generation 2 2.จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยจากการสุ่ม HI, CI หลังเสร็จสิ้นโครงการน้อยกว่าก่อนเริ่มโครงการHI ≤ ๕ , CI =0
    3.ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคฉี่หนูและมีอัตราป่วยลดลง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2789
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 307
    กลุ่มวัยทำงาน 1,680
    กลุ่มผู้สูงอายุ 802
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขากอบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ จังหวัด ตรัง

    รหัสโครงการ 67-L1526-1-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายชุมพล ตันกุลโรจน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด