กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถังรักษ์โลก
รหัสโครงการ 67-L8302-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ แกนนำสิ่งแวดล้อมโรงเรียนดารุสสาลาม
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,775.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวซง วานิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะยังคงเป็นปัญหาหลักในสังคมปัจจุบันทำให้เกิดผลกระทบมากมายไม่ว่าจะเป็นภาวะ Climate change และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนคือปัญหาขยะเศษอาหารในปี ๒๕๖๔ มีปริมาณขยะมูลฝอยทั้งประเทศ ๒๕ ล้านตันคิดเป็นร้อยละ ๖๔% เป็นขยะมูลฝอยในชุมชนของคณะผู้จัดทำ และพบเจอว่าขยะเศษอาหารเหล่านี้จะถูกกำจัดโดยวิธีฝั่งกลบทำให้เกิดผลกระทบได้แก่กลิ่น เชื้อโรค แมลง และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิดโลกร้อน ทางคณะผู้จัดทำสนใจที่จะนำนวัตกรรมถังกรองเศษอาหารมาใช้ให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาวให้กับชุมชน เพื่อลดปัญหาจากมูลเหตุดังนี้ การกำจัดขยะเศษอาหารที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรเกิดจากการทิ้งเศษอาหารไม่เป็นที่หรือไม่มีพื้นที่จนเกิดขยะเศษอาหารทับถมกันจำนวนมาก และทำให้เกิดผลกระทบดังนี้                        ๑.โรคภัยที่เกิดขึ้นจากขยะที่ทับถมกันจนเกิดการขยายตัวของพาหะนำโรค กลิ่น และแมลงตามมาอาทิเช่นโรคท้องร่วงเกี่ยวกับทางเดินอาหารและหายใจเป็นต้น                                                                      ๒.เกิดแก๊สไข่เน่าที่สุดท้ายจะกลายเป็นแก๊สมีเทนที่มีความรุนแรงกว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลต่อปรากฏการณ์แก๊สเรือนกระจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อนในที่สุด       จากการลงพื้นที่หมู่บ้านกำปงปาเระ หมู่ ๘ ต.มะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ทางโครงการได้มีการทดลองใช้ถังกรองเศษอาหารจำนวน ๑๐ ครัวเรือนเป็นจำนวน ๑๐ วันผลการนำไปใช้จริง ๑๐๐% ความสะดวกอยู่ที่ ๙๖.๖๗ % การใช้งานจริง ๙๓.๓๓%
ทางโครงการได้เห็นถึงความสำคัญและสามารถขับเคลื่อนในเรื่องการรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะของหมู่บ้านกำปงปาเระ เทศบาลตำบลมะรือโบตกเพื่อต่อยอดนวัตกรรมถังกรองเศษอาหารให้กับชุมชนบ้านกำปงปาเระให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

75.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมจัดทำถังรักษ์โลกโดยทีมงานแกนนำสิ่งแวดล้อมและแกนนำช่างเชื่อมโรงเรียนดารุสสาลาม 0 8,400.00 -
2 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการใช้ถังรักษ์โลกให้กับชุมชนจำนวน ๑๐๐ ครัวเรือนบ้านกำปงปาเระ ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส 0 4,375.00 -
รวม 0 12,775.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   ๑. รวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่รอบที่ผ่านมาจากการใช้ถังกรองเศษอาหารจำนวน ๑๐ ครัวเรือนของหมู่บ้านกำกงปาเระ   ๒. เขียนแผนงบประมาณเสนอกับเทศบาลมะรือโบตก   ๓. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลมะรือโบตก   ๔. ประชุมคณะกรรมการในการวางแผนการดำเนินงาน   ๕. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ประสานงานกับชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง   ๖. วิธีดำเนินกิจกรรมโครงการ   - ๖.๑ จัดทำถังกรอกเศษอาหารโดยทีมงานแกนนำสิ่งแวดล้อมและแกนนำช่างเชื่อมโรงเรียนดารุสสาลาม   - ๖.๒ จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการใช้ถังกรอกเศษอาหารให้กับชุมชนจำนวน ๑๐๐ ครัวเรือนบ้านกำปงปาแระ ตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส   ๗. ติดตามผลการดำเนินงานโดยมีมีความร่วมมือกับอสม.ในการติดตามผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ลดปริมาณเศษอาหารในชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและทำให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ๒.ต่อยอดนวัตกรรมถังรักษ์โลกให้เกิดคุณค่าและสามารถเผยแพร่ออกสู่ภายนอกที่สามารถก่อให้เกิดรายได้ให้แก่ชุมชมชน ๓.สร้างความสัมพันธ์และพัฒนาศักยภาพระหว่างเยาวชนและผู้คนในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ สิ่งสำคัญในการไปถึงเป้าหมายคือการร่วมมือกับผู้คนในชุมชน สำหรับเป้าหมายในระยะยาว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2567 13:34 น.