กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กแบบเชิงรุกเทศบาลเมืองคอหงส์ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L7257-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 504,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวประภัสสร ศรีจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 15 ก.ย. 2567 504,720.00
รวมงบประมาณ 504,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
74.47
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาเสริมไอโอดีน
78.29
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
14.35
4 ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
6.54
5 ร้อยละของทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
62.93

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก ของสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพของมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ในหลายประเด็น ได้แก่ ปัญหาการขาดสารไอโอดีนและภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 16.06 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 6.14 (ไม่เกินร้อยละ 7) อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 58.74 ปัญหาเหล่านี้คือเป็นปัญหาของงานแม่และเด็กที่ต้องช่วยแก้ไข

สถานการณ์สุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยปี 2562 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 74.47หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมไอโอดีน ร้อยละ 78.29หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 14.35ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 6.54 ทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 62.93 (HDC,2562) ปัญหาด้านสุขภาพมารดาระยะตั้งครรภ์ พบว่ามารดาระยะตั้งครรภ์ได้รับการประเมินความเสี่ยงระยะตั้งครรภ์ ร้อยละ 80.20 พบมีโรคประจำตัว ร้อยละ 9.40ส่วนใหญ่เป็นโรคโลหิตจาง ร้อยละ 11.80รองลงมาคือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 7.70 โรคหัวใจ ร้อยละ 3.70 ควรมีมาตรการการเร่งรัดให้มารดามาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ได้รับการประเมินความเสี่ยง สอนให้รู้จักเฝ้าระวังความเสี่ยงด้วยตนเองตามรายละเอียดในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก พร้อมจัดระบบส่งต่อในภาวะฉุกเฉินเพื่อลดการตายของมารดา ควบคู่กับการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานสากลและมีคุณภาพ (วิมลบ้านพวนและคณะ,(2564)

ทารกที่จะเกิดมาอย่างมีสุขภาพแข็งแรง พร้อมเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ ต้องเริ่มต้นจากแม่ที่มีสุขภาพดี หญิงตั้งครรภ์สุขภาพดี จะเพิ่มโอกาสที่ลูกจะเกิดมาอย่างสมบูรณ์ และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ระหว่างการคลอด อันเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของเด็ก อายุต่ำกว่า 1 ปี ในประเทศไทย การส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เป็นการดูแลสุขภาพให้แก่มารดาและทารกเริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ หลังคลอด ระยะให้นมบุตรและการบริบาลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนวัยเรียน การดูแลสุขภาพแม่และเด็กให้มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ทารกที่คลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม และจะต้องดูแลบุตรอย่างถูกต้อง เช่น การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ ส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารก ซึ่งเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ที่ดี ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กให้สมวัย และฉลาดมากขึ้น การสนับสนุนให้แม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ส่งผลให้มีน้ำนมแม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนการได้รับภูมิคุ้มกันโรคครบตามระยะเวลาที่เหมาะสม

งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กอันส่งผลให้เด็กเกิดมามีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ตามแนวทางการฝากครรภ์ อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น

หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ ตามแนวทางการฝากครรภ์ อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ร้อยละ 90

0.00 0.00
2 หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยเยี่ยมหลังคลอดและได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่

หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยการเยี่ยมหลังคลอดและได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่ ร้อยละ 90

0.00
3 หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก

หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารกร้อยละ 90

0.00
4 หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิต

หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิตร้อยละ 90

0.00
5 หญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรโดยบุตรมีน้ำหนัก มากกว่า 2,500 กรัม

หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 95

0.00
6 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์คลอดครบกำหนด

หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์คลอดครบกำหนดร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 504,720.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1 ครั้ง 0 14,110.00 -
??/??/???? กิจกรรมมอบวัสดุในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0 480,810.00 -
??/??/???? กิจกรรมอบรมแกนนำผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0 9,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตามแนวทางการฝากครรภ์ อายุไม่เกิน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น
  2. หญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยเยี่ยมหลังคลอดและได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
  3. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก
  4. หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิต และมีน้ำหนักบุตรมากกว่า 2,500 กรัม
  5. เด็กแรกคลอด - 1 ปี ได้รับการดูแลจากแกนนำอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2567 18:49 น.