กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเด็กและครอบครัวตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสกุลศิริ ศิริสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ปัจจุบันประเทศไทย มีประเด็นความท้าทายการพัฒนาในหลายมิติที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยทำงานลดลง ในขณะเดียวกันประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาในระยาว ที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วและสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้ จึงมีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อการพัฒนาในทุกมิติและทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นต้นน้ำของการพัฒนาทัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เพิ่มการกระจายรายได้และพัฒนาการให้บริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ พร้อมส่งต่อพลเมืองคุณภาพของชาติ 1,000 วันแรกของชีวิต ถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างมนุษย์ที่สำคัญ และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 – 3 ปี ถือ เป็น Proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้งกลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน การดำเนินงานการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ในกลุ่มเด็กปฐมวัยโดยร่วมกันผลักดันการดำเนินงานในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธสาสตร์ชาติ 20 ปี และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเป้าหมายการบูรณาการความร่วมมือกลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง จึงเกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการยกระดับการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เป็นมหัศจรรย์ 1,000 วัน plus สู่ 2,500 วัน โดยมุ่งเน้นให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย ต่อเนื่องจนถึงเด็กอายุ 5 ปี โดยขับเคลื่อนงานผ่านกลไก ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน plus สู่ 2,500 วัน ซึ่งเป็นกลไกที่มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ที่เป็นรูปธรรม ในการร่วมดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และการได้รับสวัสดิการทางสังคมอย่างเท่าเทียม ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยทุกคนในตำบลเพื่อให้เด็กปฐมวัยไทย มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพพัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ สำหรับประเทศไทยในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีพัฒนาการสมวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี

เด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีพัฒนาการสมวัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี

2 เพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่อยู่ในพื้นที่

ชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่อยู่ในพื้นที่

3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรม “ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ” ในเด็ก 0 – 5 ปีทุกคน

เด็ก 0 – 5 ปีทุกคนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
กิจกรรม “ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ”

4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย

เด็ก 0 – 5 ปีทุกคน ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย

5 เด็กปฐมวัย 0 – 5 ปี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ สวัสดิการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

เด็กปฐมวัย 0 – 5 ปีทุกคน ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ สวัสดิการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะทำงานพัฒนาเด็กและครอบครัวตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลท่าช้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง

  1. กิจกรรมการพัฒนาสุขภาพเด็ก
    0 – 5 ปีที่มีพัฒนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คน 3.กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
    4.กิจกรรมอบรมผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรื่องการเลี้ยงลูกให้มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพพัฒนาการสมวัย 5.กิจกรรมป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ โดยมาตรการสนับสนุนไข่ 90 วัน 90 ฟอง (ข้อมูล ปี 2566 พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน 20 คน)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วม การระดมทรัพยากรที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยของทุกภาคส่วนในตำบลท่าช้าง
  2. เด็กปฐมวัยตำบลท่าช้าง เป็นทรัพยากรมนุษย์ต้นน้ำที่ดี เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพภายใต้การบริหารจัดการที่ดี เพื่อส่งต่อเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2567 13:31 น.