กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กตำบลเทพาแข็งแรง 4 D
รหัสโครงการ 67-L8287-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 108 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 48 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่ออวัยวะครบสมบูรณ์ ก็สามารถเรียนรู้ได้ ดังนั้น การเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองหรือเรียกว่า Brain Based Learning (BBL) จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรอย่างมั่นใจ ซึ่งในขณะแม่ตั้งครรภ์ควรพูดคุยกับลูกในท้อง ใช้มือลูบคลำ หรือร้องเพลง หรือกิจกรรมที่แม่ทำแล้วสนุก มีความสุข เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “Mozart Effect” ซึ่งไม่จำเป็นต้องฟังเพลงของโมสาร์ทเท่านั้น อาจเป็น เพลงป๊อป เพลงลูกทุ่ง หรือเพลงอื่นๆ ที่แม่ฟังแล้วมีความสุข วงจรการเรียนรู้ของสมองมี 2 แบบ คือ “ตั้งใจและไม่ตั้งใจ” “ตั้งใจ” เมื่อถูกบังคับ เช่น ครู พ่อแม่บังคับให้ทำการบ้าน ให้เรียนรู้วิชา ซึ่งในลักษณะนี้ไม่เป็นผลดี เมื่อเด็กไม่พอใจ ไม่ต้องการเรียน สมองหรือ ระบบลิมบิก (Limbic system) จะปิด ส่วน “ไม่ตั้งใจ” นั้น ต้องเปิดสมองก่อน วิธีเปิดสมองอาจจะเปิดด้วยสมาธิ หรือจังหวะเพลง การเต้นง่ายๆ เมื่อสมองเปิดทำงาน มีสมาธิ แม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกผ่อนคลาย ทารกในครรภ์ พร้อมที่จะเรียนรู้ก็จะทำได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม หากเด็กในช่วงนี้ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละด้านอย่างถูกวิธี จะส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนาการด้านสมองในอนาคต จากการศึกษาพบว่า การเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วม อัตราการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน อยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร คือร้อยละ 25 แต่อัตราน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม( LBW: Low birth weight), การขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์, ภาวะทุพโภชนาการในเด็ก (อ้วน-ผอม) ก็ยังเป็นปัญหา หญิงหลังคลอด ยังไม่มีความมั่นใจในเรื่องแนวคิด ความรู้ และทักษะในการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่ ส่งผลให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นชัดเจน การพยาบาลก็เป็นปัญหาอุปสรรค ในการเรียนการสอน บางครั้งผู้รับบริการไม่พร้อมในการเรียนรู้ ให้ความร่วมมือน้อยในการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ทำให้กระบวนการสอนใช้เวลานานและคล้ายการเรียนการสอนแบบเดิม คือการสอนสุขศึกษา หรือ Health Education ผู้รับบริการบางคนไม่เปิดใจ ไม่เข้าใจในสิ่งที่สอนเพราะการสอนแบบเดิม เป็นการ สื่อสารทางเดียว ไม่มีการตรวจสอบว่าผู้รับบริการเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีการเน้นจุดสำคัญ ประเมินได้จาก หลังจากกลับบ้านผู้รับบริการไม่ได้นำไปปฏิบัติจริง เช่น ไม่ลงบันทึกสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กอย่าง ต่อเนื่อง จึงทำให้ผลลัพธ์ตัวชี้วัดไม่เป็นที่น่าพอใจ
      ทางคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์1 โรงพยาบาลเทพา จึง ได้มีการนำแนวคิด BBL (Brain-based Learning) มาปรับกระบวนการโรงเรียนพ่อแม่ มาใช้กับ ผู้รับบริการโดยเริ่มแรกมีการแนะนำตัว กล่าวคำทักทายเพื่อสร้างความคุ้นเคย มีการเปิดสมองโดยพาทำกิจกรรม ก่อนเริ่มการสอนทำให้ผู้รับบริการรู้สึกผ่อนคลายมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ หลังจากนั้นผู้สอนได้เริ่มการสอนและ สาธิตโดยเน้นจุดสำคัญของขั้นตอนต่างๆและให้ผู้รับบริการได้ฝึกปฏิบัติทุกคนโดยมีผู้สอนคอยประกบช่วยเหลือ หลังจากนั้นได้มีการพูดคุยสรุป และเปิดให้มีการ ซักถาม REFLECTION ของผู้รับบริการเพื่อจะได้ทราบว่า ผู้รับบริการยังมีความไม่มั่นใจหรือขาดทักษะขั้นตอนไหน ผู้สอนจะได้ช่วยเสริมตรงจุดนั้นทำให้ผู้รับบริการ สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและมั่นใจเมื่อกลับไปปฏิบัติที่บ้าน นอกจากนี้ การปรับปรุงครั้งนี้ มุ่งหวังให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจ รู้จุดสำคัญ ข้อควรระวัง ทำให้สามารถเรียนรู้และ ปฏิบัติได้ถูกต้อง เด็กมีสุขภาพกายและใจที่ดี ไม่กลัวโรงพยาบาล คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ สนใจฟังนิทานมากขึ้น ผู้รับบริการมีความสุขในการเรียนการสอน สังเกตจากสีหน้าแววตา การให้ความร่วมมือ และมีความอบอุ่นที่สามีมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม ตั้งแต่มาฝากครรภ์ สู่มารดาตั้งครรภ์คุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่เหมาะสม
  1. หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์  ตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 90
  2. ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่ 2 น้อยกว่าร้อยละ10
  3. เด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัมน้อยกว่าร้อยละ 7
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 212 20,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การตั้งครรภ์ ทั้งหมด 6 ฐานการเรียนรู้ 48 6,240.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี ทั้งหมด 5 ฐาน การเรียนรู้ 56 7,280.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และ เด็ก 0-5 ปี 108 6,480.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.มีความรู้และมีทักษะในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็ก0-5 ปี 2.ผู้ปกครองเด็กสามารถประเมินการเจริญเติบโต พัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการของบุตรตนเองได้
3.หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และ เด็ก0-5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2567 14:24 น.