กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เทศบาลตำบลบ่อทอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L7012-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
0.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
80.00
3 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
80.00
4 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
100.00
5 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย
100.00
6 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
50.00
7 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด
10.00
8 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ได้ให้ความสำคัญ กับการสร้างเสริมและพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งงานอนามัยแม่และเด็กนับได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากในปี 2563 จำนวนการเกิดของเด็กไทย ลดต่ำกว่า 600,000 คน/ปี เป็นครั้งแรก และมีแนวโน้มจะลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอัตราเจริญพันธ์โดยรวมลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือกล่าวได้ว่าสตรี 1 คน จะมีบุตรน้อยกว่า 2 คน รัฐบาลจึงมอบหมายให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2560 มีเจตจำนงที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต โดยร่วมกันผลักดันในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป่าหมายในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงสอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การเกิดอย่างมีคุณภาพจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคต้องร่วมมือกัน โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต (1,000 วันแรก : ตั้งแต่ในครรภ์ ถึง 2 ปี) เพราะเป็นช่วงเวลาสำคัญของกระบวนการพัฒนาการด้านร่างกายและสมอง ส่งผลต่อน้ำหนักทารก ภาวะเบี้ย ภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกระบวนการสร้างเซลล์สมอง โดยการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ร่วมกับกระบวนการ กิน นอน กอด เล่น เล่าคุณภาพ จะทำให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพสูงสุด โดยจะต้องมีกระบวนการดุแลพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการจะดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการบูรณาการทั้ง 4 กระทรวงหลัก เพื่อเป้าหมาย เด็กไทย แข็งแรง เก่งดี มีวินัย ไฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามแนวทางการพัฒนา และอภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน เน้นฐานการแก้ปัญหา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการสร้างต้นน้ำ (คุณภาพ) เกิดขึ้นได้จริง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของภาคี 4 กระทรวงร่วมบูรณาการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์เร็วสนับสนุนส่งเสริมภาวะโภชนาการให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาวะที่ดี เสริมสร้างความรอบรู้ให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ร่วมเฝ้าระวังป้องกันภาวะเสี่ยงที่ส่งผลทำให้คลอดก่อนกำหนด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพเป็นอนาคตของประเทศชาติ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

0.00 0.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

80.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

80.00 90.00
4 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

100.00 100.00
5 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย เพิ่มขึ้น

100.00 100.00
6 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น

50.00 70.00
7 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

10.00 0.00
8 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้น

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 จัดอบรมให้ความรู้(21 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 8,560.00      
2 จัดอบรมให้ความรู้(21 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 6,360.00      
3 ติดตามเยี่ยมบ้าน(1 ส.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 15,080.00      
รวม 30,000.00
1 จัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 8,560.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้ 40 8,560.00 -
2 จัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 6,360.00 0 0.00
21 ม.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้ 20 6,360.00 -
3 ติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 15,080.00 0 0.00
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามเยี่ยมบ้าน 20 15,080.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพิ่มช่องทางเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ติดตาม แลกเปลี่ยนความรู้และแก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด ๒. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมโภชนาการให้หญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด ๓. เพื่อพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้หญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2567 14:16 น.