กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนครตรังร่วมใจ สู่สุขภาพดี ยุค 4.0
รหัสโครงการ 2567 – L6896 – 01 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 117,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 ประกอบด้วย 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านหนองยวน ชุมชนบางรัก ชุมชนหนองปรือ ชุมชนท่าจีน ชุมชุนท่ากลางและชุมชนน้ำผุด มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 59 คน รับผิดชอบดูแลประชาชนทั้งหมด 3,673 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 8,479 คน ผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดูแล จำนวน 1,150 คน ผู้พิการในพื้นที่ที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดูแล จำนวน 100 คน ผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดูแล จำนวน 836 คน เด็กแรกเกิด - 5 ปีในพื้นที่ที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดูแล จำนวน 101 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นองค์กรที่มีบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ให้บริการแก่ประชาชนขั้นพื้นฐานได้ทันท่วงทีเนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้รับบริการพื้นฐานที่ทั่วถึง และทันเวลา สำหรับกิจกรรมที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินการในพื้นที่ ได้แก่ กิจกรรมชั่งน้ำหนักเด็ก วัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด (DTX) การคัดกรองภาวะสุขภาพ การนัดให้ไปรับบริการต่าง ๆ ฯลฯ     จากการสำรวจอุปกรณ์ เครื่องมือ ในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การฟื้นฟูสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2566 พบว่ายังขาดแคลนอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ จำนวน 12 เครื่อง เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 16 เครื่อง เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 32 เครื่อง ตลับวัด BMI จำนวน 58 อัน และวัสดุอื่นๆที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น ถ่านแอลคาไลน์ ถ่านใส่เครื่องเจาะน้ำตาล ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติงานมีความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนงาน     งานศูนย์บริการสาธารณสุข 3 เล็งเห็นความสำคัญการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค โดยการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  จึงได้จัดทำโครงการ  นครตรังร่วมใจ สู่สุขภาพดี ยุค 4.0 เพื่อให้ประชาชนสะดวกในการรับบริการตรวจสุขภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการ ส่งผลให้ระบบสุขภาพชุมชนเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพโดยรวมเกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรค แก่ประชาชนในพื้นที่โดยการให้บริการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน

1.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุในพื้นที่  ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน 2. ร้อยละ 90 ของผู้พิการในพื้นที่  ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน 3. ร้อยละ 90 ผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่  ได้รับการติดตามความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด 4. ร้อยละ 80 ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน 5. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิด -  5 ปีในพื้นที่  ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการ
6. ร้อยละ 90 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และมารดาหลังคลอดได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมการให้ความรู้และติดตามการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในกลุ่มเป้าหมาย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 -ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป -ผู้พิการ -ผู้สูงอายุ -หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ -มารดาหลังคลอด -การฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
2 กิจกรรมคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต ในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป กิจกรรมติดตามภาวะสุขภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 117,200.00                  
รวม 117,200.00
1 กิจกรรมการให้ความรู้และติดตามการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในกลุ่มเป้าหมาย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 -ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป -ผู้พิการ -ผู้สูงอายุ -หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ -มารดาหลังคลอด -การฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 กิจกรรมการให้ความรู้และติดตามการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นในกลุ่มเป้าหมาย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 -ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป -ผู้พิการ -ผู้สูงอายุ -หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ -มารดาหลังคลอด -การฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 0 0.00 -
2 กิจกรรมคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต ในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป กิจกรรมติดตามภาวะสุขภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 117,200.00 0 0.00
8 ม.ค. 67 กิจกรรมคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต ในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป กิจกรรมติดตามภาวะสุขภาพ กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ 0 117,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่บ้าน ได้ทันเวลา สะดวกและ รวดเร็ว
  2. ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 14:58 น.