กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลมารดาและทารก ในเขตเทศบาลนครตรัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 2567 - L 6896 - 01 - 11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุข 3 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 77,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดีเก่ง และมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย ซึ่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยนั้น จะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ช่วงปฐมวัยหรือ 6 ปีแรกของชีวิต ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กต้องได้รับการดูแลจากพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้าน การพัฒนาบทบาทความเป็นพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กทุกคนต้องได้รับการพัฒนาความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กและมีทักษะในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมถึงการเฝ้าระวัง และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่า ร้อยละ 15 - 20 ของเด็กทั่วโลกมีพัฒนาการที่ผิดปกติ ในปี 2567 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตัวชี้วัดพัฒนาการเด็กสมวัยในเด็ก 0-5 ปี ≥ ร้อยละ 86
โดยผลการดำเนินงานในปี 2566 กระทรวงสาธารณสุขแสดงข้อมูลจากฐานข้อมูล HDC ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี
ทั่วประเทศ ที่มีพัฒนาการสมวัย คิดเป็น 83.4 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ และร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลทับเที่ยง ที่มีพัฒนาการสมวัย คิดเป็น 78.54 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566)
งานศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง ตระหนักถึงความสำคัญ  ของการดูแลทารกให้มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย ทั้งยังดูแลมารดาให้มีสุขภาพกายจิตที่ดี มีความพร้อมในการดูแลบุตร ช่วยให้เด็กได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่เริ่มต้นและต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอในทุกช่วงวัย และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที กรณีพบพัฒนาการผิดปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการส่งเสริมเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

มารดาหลังคลอดเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ≥ ร้อยละ 30

2 เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง และทารกในขณะหลังคลอด

มารดามีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเองและทารก หลังคลอด ≥ ร้อยละ 85

3 เพื่อให้มารดาหลังคลอด ได้รับการเยี่ยม 3 ครั้งตามเกณฑ์

มารดาหลังคลอด ได้รับการเยี่ยม 3 ครั้งตามเกณฑ์ ≥ ร้อยละ 85

4 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกให้มีพัฒนาการสมวัยในช่วงขวบปีแรก

ทารกมีพัฒนาการสมวัยในช่วงขวบปีแรก ≥ ร้อยละ 85

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรม สำรวจจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ ในเขตเทศบาลนครตรัง(1 ธ.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                    
2 กิจกรรมเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 77,875.00                    
รวม 77,875.00
1 กิจกรรม สำรวจจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ ในเขตเทศบาลนครตรัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม สำรวจจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ ในเขตเทศบาลนครตรัง 0 0.00 -
2 กิจกรรมเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 77,875.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด 0 77,875.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาให้นมมารดาแก่ทารกได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  2. มารดาหลังคลอดได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองและบุตรหลังคลอดอย่างถูกต้อง
  3. มารดาหลังคลอด มีความรู้เรื่องอาการผิดปกติหลังคลอดที่ควรไปพบแพทย์ และมารดามีความปลอดภัย
  4. มารดาหลังคลอดและทารกได้รับการเยี่ยมต่อเนื่อง สามารถลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์
  5. เด็กแรกเกิด-1 ปี ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องจากมารดาและบุคคลรอบข้างในครอบครัว ทำให้มีพัฒนาการที่สมวัย
  6. เด็กแรกเกิด-1 ปี ที่พบพัฒนาการล่าช้า ได้การกระตุ้นและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 15:55 น.