กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างทักษะชีวิต ห่างไกลยาเสพติดให้โทษ
รหัสโครงการ L5300-67-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพัฒนาการศึกษามูลนิธิ
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 50,806.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุไฮมี สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนทั้งชายและหญิงมีแนวโน้มพฤติกรรมการใช้สารเสพติดมากกว่า 1 ชนิดร่วมกัน
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้เสพเอง ครอบครัว สังคมและก่อให้เกิดปัญหาในวงกว้างออกไปถึงระดับประเทศ เด็กและเยาวชนไทยวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียน เป็นวัยที่ร่างกาย สมอง สติปัญญากำลังพัฒนาไปพร้อมที่จะเรียนรู้และก้าวผ่านไปเป็นวัยผู้ใหญ่ แต่ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าของเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ความทันสมัยของเทคโนโลยี ทำให้การเรียนรู้ของเยาวชนในวัยเรียนเปิดกว้างมากจนยากต่อการควบคุมดูแล ผู้ปกครองทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาที่จะอยู่ร่วมกับเยาวชนน้อยลง เยาวชนมักจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนในวัยเดียวกันมากขึ้น ประกอบกับ วัยรุ่นและเยาวชนเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากลอง อยากเห็น ความคึกคะนอง อยากค้นหาสิ่งใหม่ๆ การค้นหาความเป็นตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามในวัยนี้ก็มีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะการคิดวิเคราะห์ การยับยั้งชั่งใจ การใช้ดุลยพินิจต่างๆ ที่อาจจะไม่เหมาะสม ทั้งนี้อันเนื่องมาจากพัฒนาการของสมองด้านการบริหารจัดการจะยังไม่สมบูรณ์ตามวัยเหมือนผู้ใหญ่ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความไม่รู้เท่าทันสื่อของเยาวชนจึงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดช่องว่างและเสี่ยงต่อการเข้าถึงสารเสพติดได้ง่ายขึ้น เด็กและเยาวชนไทยวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียนปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากพบว่าผู้ที่เริ่มใช้ยาเสพติดเป็นผู้ที่มีอายุน้อยลง ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตลอดจนมีแนวโน้มพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิดร่วมกันมากขึ้น มีการนำสารต่างๆ ที่หาได้ง่ายมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด โดยมองว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การใช้ยาเสพติดที่มีชื่อเรียกให้ดูไม่มีอันตรายและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูก หาซื้อได้ง่ายขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นภัยอันตรายต่อเยาวชนไทยวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดการติดยาเสพติดและผลจากการใช้สารอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้สมองถูกทำลาย มีการเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีในสมองจนเกิดอาการและความผิดปกติทางจิตต่างๆ ตามมา ซึ่งทำให้สูญเสียช่วงเวลาสำคัญในการเรียนรู้ เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายของยาเสพติด และความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายของยาเสพติด และมีความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง มากกว่าร้อยละ ๘๐

80.00
2 2. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีพฤติกรรมและทักษะชีวิตในการป้องกัน การเฝ้าระวัง และสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติดได้

ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมและทักษะชีวิตในการป้องกัน การเฝ้าระวัง และสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติดได้  มากกว่าร้อยละ ๘๐

80.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลตนเอง การป้องกัน การเฝ้าระวัง การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติด และสามารถให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นได้

ร้อยละของนักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลตนเอง การป้องกัน การเฝ้าระวัง การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติด และสามารถให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นได้  มากกว่าร้อยละ ๗๐

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 50,806.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 “สร้างทักษะชีวิต ห่างไกลยาเสพติดให้โทษ ” 100 9,086.00 -
1 ม.ค. 67 - 21 เม.ย. 67 กิจกรรม “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เรือนจำเตือนใจ” 100 39,370.00 -
10 ม.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมรณรงค์ “ด้วยรักและห่วงใย ต้านภัยยาเสพติด ” 100 850.00 -
10 - 31 ม.ค. 67 “ เสียงจากหัวใจ ต้านภัยยาเสพติด ” 100 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายของยาเสพติด และมีความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ๒. นักเรียนมีพฤติกรรมและทักษะชีวิตในการป้องกัน การเฝ้าระวัง และสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติดได้
    ๓. นักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลตนเอง การป้องกัน การเฝ้าระวัง การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การติดสารเสพติด และสามารถให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้อื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2567 10:32 น.