กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายและทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
รหัสโครงการ 67-L5190-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.827185,100.968041place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึงความสามารถของบุคลากรที่ร่วมทีมในพื้นที่ ต้องมีความรับผิดชอบในการเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีแระสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน การดำเนินงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก้าวต่อไปในการทำงานของ SRRT ทุกระดับมุ่งหวังให้ทีม SRRT มีการยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่เฝ้าระวังค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันที  และในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาพบมีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งสถิติจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาปี พ.ศ.2566 กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีอายุ 10 -14 ปีมีอัตราการป่วยมากที่สุด รองลงมากลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีอายุ 5 - 9 ปีปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุม กำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูกาลระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่ และเมื่อมีเหตุระบาดของโรคไข้เลือดออกจะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยการพ่นยุงรอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ยุงลายไปแพร่เชื้อแก่บุคคลอื่น หรือชุมชนรอบข้าง กรอบกับตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 มาตรา 50(4) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ ซึ่งเทศบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการในการป้องกันโรคติดต่อเผ้าระวังและระงับโรคติดต่อ     เทศบาลตำบลเทพาเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกรวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายและทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล ให้มีความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันโรค ให้สามารถรับมือการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับหมู่บ้าน ตำบล สามารถดำเนินการตอบสนองต่อการระบาดของโรค และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรคสงบ

100.00
2 เพื่อปรับปรุงแก้ไขแผนรับมือการระบาดของโรคและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์มากขึ้น

บุคลากรทุกระดับมีความรู้ เข้าใจความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวของในการป้องกัน แก้ไขปัญหา

100.00
3 เพื่อให้บุคลากรทุกระดับมีความรู้ เข้าใจความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการป้องกัน แก้ไขปัญหา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20 10,000.00 0 0.00
19 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 20 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับหมู่บ้าน ตำบล สามารถดำเนินการตอบสนองต่อการระบาดของโรค และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโรคสงบ
  2. บุคลากรทุกระดับมีความรู้ เข้าใจความเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวของในการป้องกัน แก้ไขปัญหา
  3. ปรับปรุงแผนรับมือการระบาดของโรค และการประสานงานระหว่างหน่วยงานในตำบลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566 00:00 น.