กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการมีส่วนร่วมของพี่เลี้ยง ANC ปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ L5300-67-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 25,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรณิการ์ ปานทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 9 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
2.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
2.00
3 ร้อยละของเยาวชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษา ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ ๑๕-๑๙ ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น อายุ ๑๐-๑๔ ปี และอายุ ๑๕-๑๙ ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ ๓ ว่าด้วยการสร้างหลักประกัน ให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพ และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย ที่นานาชาติต้องการบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓
จากสถิติข้อมูลการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นอำเภอเมืองสตูล ในปี 2560-2565 มีอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี จำนวน 6,4,4,2,2 และ 5 ราย ตามลำดับ อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี เท่ากับ 134 , 124 , 128 , 100 , 69 และ 58 ราย ตามลำดับ (HDC 30 ก.ย. 65) ซึ่งมีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรส และหญิงวัยรุ่นส่วนใหญ่หลังคลอดพบว่าไม่ได้เรียนต่อต้องอยู่บ้านเพื่อเลี้ยงดูบุตร บางรายไม่มีรายได้ต้องพึ่งพาจากครอบครัวและชุมชน รวมทั้งยังส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพของวัยรุ่นและเด็ก เช่น เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโลหิตจาง การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญคือการมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีมีศักยภาพ ซึ่งต้องเริ่มส่งเสริมดูแลตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งมารดาและเด็กควรได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด
โครงการรูปแบบกระตุ้นการฝากครรภ์โดยการมีส่วนร่วมของพี่เลี้ยง ANC ปี ๒๕๖7 นี้เป็นโครงการต่อเนื่อง ที่มีการดำเนินงานมาแล้วในปี 2566 ซึ่งจากผลของการดำเนินโครงการ พบว่า ทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับประโยชน์ตามกระบวนการฝากครรภ์ ตั้งแต่ก่อนอายุครบ 12 สัปดาห์ การดูแลคัดกรองความเสี่ยง การฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้ง การเยี่ยมหลังคลอด ครบ 3 ครั้ง หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ในการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม  ซึ่งในปี 2566 นี้ มีการปรับให้ฝากครรภ์อย่างน้อย 8 ครั้ง โดยเพิ่ม ความถี่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เนื่องจากพบอุบัติการณ์ทารกเกิดไร้ชีพ (stillbirths) เพิ่มขึ้นในบางประเทศที่มีการปรับใช้แนวการ ฝากครรภ์ 4 ครั้ง อัตราเกิดไร้ชีพเมื่อปี พ.ศ. 2561- 2563 อยู่ที่ 3.86, 4.54 และ 4.37 ต่อการเกิด 1,000 คน ตามลำดับ จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จำเป็นในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี เพื่อให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียน ชุมชนและแม่วัยรุ่น เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนครอบครัว อนามัยวัยเจริญพันธ์ และพัฒนาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้อย่างถูกต้อง ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่น ลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น โดยให้มีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงได้มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการมีส่วนร่วมของพี่เลี้ยง ANC ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องมีความรู้ให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญอันดับแรกในการดูแลให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามไตรมาส การคัดกรองเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้มีการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ หรือฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ค้นหาปัจจัยเสี่ยง เพื่อให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

2.00 75.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

2.00 50.00
3 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,030.00 0 0.00
9 ม.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตในวัยรุ่น เรียนรู้สมวัย ไม่ท้องก่อนวัยอันคาร 0 15,760.00 -
9 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ตัวแทนพี่เลี้ยง ANC ประจำหมู่ สู่กระบวนการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ 0 270.00 -
9 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กระบวนการค้นหาติดตาม และเยี่ยมหลังคลอด โดย พี่เลี้ยง ANC 0 9,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ ≤ ๑๒ สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 75 ๒. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 50 ๓. ระบบงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต.ได้มาตรฐานงานคุณภาพตามกระทรวงกำหนด
๔. เกิดแกนนำ พี่เลี้ยง ANC ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ๕.เยาวชน กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษา และพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหลังการอบรม ร้อยละ ๙๐ ๖. เกิดแกนนำเครือข่าย “วัยรุ่นยุคใหม่ ฉลาดรู้เรื่องเพศ” ในโรงเรียน เพื่อเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนนักเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2567 11:53 น.