กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีไทยใส่ใจป้องกันภัยโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5307-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 28,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภาณุวัตร แซ่หลู่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานข้อมูลข่าวสารสุขภาพสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ การเสียชีวิตของคนไทยนั้นเกิดจากโรคมะเร็งสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปีที่ผ่านมาพบว่าผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ตามลำดับ สาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ วิถีชีวิต การบริโภค ผู้ป่วยที่มารับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่ มักจะมาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการเพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม โดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ถ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต และการตรวจคัดกรองด้วยตนเองเพื่อค้นหาความผิดปกติ ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ในขณะเดียวกัน กลุ่มสตรีสามารถดูแลตนเองและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ของการลดปัญหาสุขภาพ ได้แก่ สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกแบบ HPV DNA TEST ทุกๆ 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักและยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกเท่าที่ควร

จากข้อมูลอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและโรค มะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ปีงบประมาณ 2565 ผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองพบว่าสตรีอายุ 30-70ปี ทั้งหมด 23,359 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจำนวน 11,778 ราย
คิดเป็นร้อยละ 50.40 (เป้าหมายร้อยละ 80) และสตรีอายุ 30-60 ปี ทั้งหมด18,920 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 3,035 ราย คิดเป็นร้อย 16.04 (เป้าหมายร้อยละ 20 ต่อปี)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ปีงบประมาณ 2566 ผลการดำเนินงาน พบว่าสตรีอายุ 30-70 ปี ทั้งหมด 1,470 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจำนวน 506 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.42 (เป้าหมายร้อยละ 80) และสตรีอายุ 30-60 ปี ทั้งหมด 1,717 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 88 ราย คิดเป็นร้อย 5 (เป้าหมายร้อยละ 20 ต่อปี) ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2567 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองในสตรีกลุ่มเป้าหมาย ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สตรีไทยมีความรู้เรื่องการดูแลและเฝ้าระวังตนเองจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการดูแลและเฝ้าระวังตนเองจากโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกได้

34.42 40.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องได้

34.42 40.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

16.04 20.00
4 เพื่อค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น ส่งต่อ เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที

ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ

80.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,120.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 67 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ขั้นดำเนินการ 0 26,470.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 1,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม. และแกนนำสตรีประจำครอบครัว มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมาย และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม
2.สตรีกลุ่มเป้าหมาย ที่มีอายุ 30–60 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (ต่อปี)
3.สตรีที่มี อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2567 00:00 น.