กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก อายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ L5300-67-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด(สาขา)
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 25,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภา สูสัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 132 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยเด็ก เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากสุขภาพเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด ถึง 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
พัฒนาการเด็ก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่ง ย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการเด็กไทย พบว่า เด็ก อายุ ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน
จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก อายุ ๐ – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ปีงบประมาณ 2566 พบว่า เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 7.32 ซึ่งร้อยละ 9.90 มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ปกครอง/ ผู้ดูแลเด็ก อายุ ๐ – 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการส่งต่อทุกราย

1.ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 0 - 5 ปีที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยัง รพ.สตูล ทุกราย

100.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ ๐-5 ปี

ร้อยละ 100 ของผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ ๐- 5 ปี

100.00
3 3.เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีความรู้และทักษะการตรวจ และกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ร้อยละ 100 ของแกนนำ อสม. มีความรู้ และทักษะการตรวจ และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 132 25,050.00 0 0.00
10 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เพื่อเสริมทักษะการตรวจและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 132 25,050.00 -
10 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก อายุ 0 - 5 ปี เพื่อค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตพื้นที่ ได้รับการคัดกรองพัฒนาการสมวัย สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
  2. ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ ๐ - 5 ปี และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
  3. แกนนำ อสม. มีความรู้ และทักษะการตรวจ และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2567 14:22 น.