กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสภาเด็กและเยาวชนต้นแบบ ต้านยาเสพติดป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รหัสโครงการ 67-L7012-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณาซูฮา ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
50.00
2 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
100.00
3 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน
0.00
4 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน สังคมไทยต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาอุทกภัย ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การทำแท้ง การข่มขืนกระทำชำเรา ฯลฯ โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดนั้น นับได้ว่ามีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเป็นปัญหาระดับชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลที่เร่งด่วนให้ภาครัฐและประชาชนร่วมกันแก้ไข ซึ่งในขณะนี้แม้กระทั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานทุกภาคส่วน จะได้พยายามเร่งระดมสรรพกำลังและทรัพยากรด้านต่างๆ ในการดำเนินการป้องกันปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ก็ปรากฏได้ว่าความพยายาม ดังกล่าวได้ผลเพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจาการปฏิบัติมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองและชุมชนหนาแน่น รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการและมั่วสุมต่างๆ เช่น ร้านเกมส์ อินเตอร์เน็ตและสถานที่ลับตาผู้คน ฯลฯ ประชากรกลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตลอดจนผู้ใช้แรงงานและผู้ว่างงาน อีกทั้งผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งผู้ค้าและผู้เสพ และเพื่อเป็นการมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่ยังมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้หมดสิ้นไปจากพื้นที่เทศบาลตำบลบ่อทอง การขยายวงกว้างของปัญหายาเสพติดทำให้เกิดผลกระทบต่างๆมากขึ้นในสังคม เช่นปัญหาลักขโมย ปัญหาการล่อลวง การข่มขืน และมั่วสุม กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลบ่อทองได้ตระหนักถึงปัญหา ความรุนแรง และผลกระทบของปัญหายาเสพติด และปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นในสังคมที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มวัยรุ่น และเยาวชน ระยะยาวซึ่งอาจจะหวนกลับมาแพร่ระบาดเข้าไปสู่กลุ่มอื่นๆ อีก ซึ่งจะต้องสร้างระบบเฝ้าระวังควบคุมแหล่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้ได้ โดยได้รับความร่วมมือจากหมู่บ้าน/ชุมชน และสถานประกอบการร่วมกันเข้าแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้เป็นเรื่องยากในการที่จะดำเนินการแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ดังนั้น กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลบ่อทอง จึงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ในตำบล จัดทำโครงการกิจกรรม สภาเยาวชนต้นแบบ ต้านยาเสพติด ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

50.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

100.00 100.00
3 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

0.00 0.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

50.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67
1 จัดอบรมให้ความรู้(4 ม.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 14,000.00                
รวม 14,000.00
1 จัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 14,000.00 0 0.00
4 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้ 50 14,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความรู้ในการป้องกันยาเสพติด ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการ   ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
  2. กลุ่มสภาเด็กและเยาวชนมีการป้องกันและเฝ้าระวังยาเสพติดและปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่
  3. เกิดเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเยาวชน โดยสามารถส่งต่อเข้าสู่ระบบบำบัด การรักษา
      เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกให้เยาวชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 10:22 น.