กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู
รหัสโครงการ 67-50117-01-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 8,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรค ฉี่หนู" โดย ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว พื้นที่ทีมีการเลี้ยงสัตว์ และวัวชน เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ สถานการณโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึง วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ (ขอมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค ๕๐๖ กองระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) สะสมรวม ๓,๘๒๕ ราย ผู้ปวยเสียชีวิต จำนวน ๓๗ ราย สำหรับ สถานการณในพื้นที่เขต ๑๒ พบผู้ป่วย ๘๐๐ ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๘ ราย (จังหวัดพัทลุง ๑ ราย จังหวัดสงขลา ๒ ราย และจังหวัดตรัง ๕ ราย) จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ จังหวัดตรัง จำนวน ๒๑๐ ราย (ลำดับที่ ๔ ของประเทศ) ในพื้นที่อำเภอนาโยงเป็นพื้นที่ราบลุ่มพื้นที่เกษตรกรรมด้านการปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันอีกทั้งยังมีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน และบริเวณที่อยู่อาศัยประกอบกับภาคใต้มีฤดูฝนติดต่อกัน ปี ๒๕๖๖ มีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) สะสมรวม ๑๔ ราย ซึ่งมีอัตราการป่วยสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ทางโรงพยาบาลนาโยงมีความห่วงใยสุขภาพประชาชน และตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ในชุมชนอย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสลดลง ๒.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีสและการป้องกันตนเองเพิ่มขึ้น ๓.อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 14:45 น.