กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-50117-02-015
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาโยงเหนือ
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 39,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุชฎา เพชรขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 5845 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อในปัจจุบันมีด้วยกันหลายโรค แต่ละโรคมีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิด โรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญ คือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ จึงจะทำให้ไม่เป็น แหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชน ในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อ ต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าว  โรคติดต่อในที่นี้ทางผู้จัดทำโครงการได้เน้นไปที่ โรคไข้เลือดออก  ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือด ออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 -14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรค ตลอดทั้งปีอีกด้วยใน
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –
เดือนพฤศจิกายน  2566  พบผู้ป่วยสะสมทั่วประเทศ  จำนวน  136,655  ราย คิดเป็นอัตราป่วย 206.52 ต่อประชากรกรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 127 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.22 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 15.24 ปี  รองลงมา คือ 15-14 ปี (20-30%) พบมากในกลุ่มอาชีพนักเรียน ร้อยละ 46.70 รองลงมาอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 20.40 ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูง 5 จังหวัดแรก คือ ตราด น่าน จันทรบุรี  ระยอง เชียงราย ตามลำดับ แม้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในช่วงต้นปี 2566 จะมีตัวเลขน้อยกว่าปี 2565 แต่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา กลับพบว่าจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและสูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ข้อมูลจังหวัดตรัง เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 พบผู้ป่วย 997  คน คิดเป็นอัตราป่วย 156.22 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานป่วยเสียชีวิต จำนวน 4  ราย (อำเภอห้วยยอด 1 ราย อำเภอย่านตาขาว 1 ราย และอำเภอปะเหลียน 2 ราย)
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า โรคไข้เลือดออก ยังเป็นโรคที่สามารถทำให้เสียชีวิต และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกพื้นที่  ในพื้นที่ของตำบลนาโยงเหนือ มีไข้เลือดออกในปี  พ.ศ. 2566  จำนวน  32  ราย  จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี การเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาโยงเหนือ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกและกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งถ้าบ้าน/ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายแล้ว โรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมาก และสามารถลดการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออื่นๆที่จะตามมาได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยโดยโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1)อัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรคในชุมชนลดลง 2)ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่า 10 และ CI เท่ากับ 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 15:04 น.