กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยปลอดโรคของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหวะ เทศบาลเมืองคอหงส์
รหัสโครงการ 67-L7257-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหวะ เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 15 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 6,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ บรรเจิดเลิศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 6,750.00
รวมงบประมาณ 6,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็กที่มีปัญหาด้านสายตา
0.00
2 ร้อยละของเด็กเล็กที่มีปัญหาโรคพยาธิ
0.00
3 ร้อยละของเด็กเล็กเป็นเหา
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสถานการณ์ในปัจจุบัน พบว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยในเด็กปฐมวัย มีสาเหตุมาจากตัวเด็กสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ดูแลเด็ก จึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก และมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือ ซึ่งปัญหาสุขภาพจะมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย เช่น ปัญหาสุขภาพช่องปาก ปัญหาเด็กเป็นเหา ปัญหาภาวะโภชนาการ ภาวะการณ์การเจริญเติบโตไม่สมวัย และปัญหาพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะรวมถึงปัญหาโรคติดต่อต่างๆ ของเด็กปฐมวัย เช่น โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไวรัสโคโรนา (Covic – 19) โรคอีสุกอีใส โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพ ของเด็กก็ย่อมเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กและยังส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

การส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัยที่อยู่ในสถานศึกษา พบว่าเด็กยังขาดการส่งเสริมสุขภาพอนามัย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองโดยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขอนามัยด้านต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพช่องปาก การนอนหลับพักผ่อนของเด็กปฐมวัย มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนอนหลับในเวลากลางวันของเด็กเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ผ่อนคลาย บรรเทาความเมื่อยล้าที่เด็กได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มความตื่นตัว ช่วยให้อารมณ์และความจำดีขึ้น และการทำความสะอาดร่างกายมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงนี้สภาพแวดล้อม และสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เกิดมลภาวะและมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหวะฯ ปลอดภัยจากการเป็นโรคพยาธิ

ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองเปลฯ ปลอดภัยจากโรคพยาธิ

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจวัดสายตา

ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยได้รับการตรวจวัดสายตา

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีกิจกรรมการกำจัดเหาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีเด็กนักเรียนเป็นเหา

ร้อยละ 100 ของเด็กปฐมวัยได้รับการตรวจเหา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,750.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมตรวจไข่พยาธิสำหรับเด็กปฐมวัย 0 1,750.00 -
??/??/???? กิจกรรมตรวจสายตาสำหรับเด็กปฐมวัย 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมตรวจกำจัดเหาสำหรับเด็กปฐมวัย 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหวะฯ ปลอดภัยจากโรคพยาธิทุกคน
  2. เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหวะฯ ได้รับการวัดสายตาโดยใช้เครื่องมือทดสอบสายตาสำหรับเด็กปฐมวัยทุกคน
  3. เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองหวะฯ ได้รับการตรวจและกำจัดเหาทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 15:50 น.