กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้พัฒนาการเฝ้าระวัง ป้องกัน การทำร้ายตนเอง
รหัสโครงการ 67-50117-01-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 3,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถาณการณ์แนวโน้มฆ่าตัวตายของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลงตามสถานการณ์ และภาวะต่างๆส่งผลให้ประชาชนเกิดความเครียด วิตกกังวล เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดสถานการณ์ ทำร้ายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายตามมา โดยสถาณการณ์ฆ่าตัวตายในประเทศไทยในปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖ (ต.ค.๒๕๖๕ - มี.ค.๒๕๖๖) จำนวนผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ ๗.๓๘, ๗.๐๙ และ๗.๙๗ ตามลำดับอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัตรตามห้วงเวลา จากการติดตามวิเคราะห์ข้อมูลและสังเกตการณ์ฆ่าตัวตายในคนไทยพบว่าการฆ่าตัวตายในแต่ละบุคคลแต่ละครั้ง จะเกิดขึ้นเมื่อครบ ๕ เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ ๑.บุคคลนั้นต้องมีปัจจัยเสี่ยง(Risk factors) ที่โน้มนำให้ฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป ๒. มีสิ่งกระตุ้น(Tirgger)หรือปัจจัยกระตุ้น(Preciptating factors)ให้คิดและกระทำการฆ่าตัวตาย ๓.เข้าถึงอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ฆ่าตัวตายได้ง่าย ๔.การเฝ้าระวังป้องกันล้มเหลว ๕.บุคคลนั้นมีปัจจัยปกป้อง (Protective factors)ที่อ่อนแอ พิจารณาข้อมูลผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ จากรายงาน 43 แฟ้ม HDCของโรงพยาบาลทุกแห่งศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขโปรแกรมเฝ้าระวังผู้พยายามทำร้ายตนเอง (กรณีเสียชีวิต) รง.๕๐๖ S.กรมสุขภาพจิต ข้อมูลณวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ สถานการณ์ การฆ่าตัวตายสำเร็จของประชากรอำเภอนาโยงงบประมาณ 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2564, 2565 และ 2566 ตามลำดับเท่ากับ 13.59, 6.71 และ 17.93 ต่อแสนประชากร อำเภอนาโยง วิเคราะห์ข้อมูล รง.506 S. และการสอบสวนโรคกำหนดกลุ่มเสี่ยงที่ต้องติดตามเฝ้าระวังและได้ตระหนักถึงความสำคัญให้มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงและผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่ให้กระทำซ้ำ การติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง คัดกรองปัญหาสุขภาพจิตให้ได้รับการดูแล วินิจฉัยโรคและบำบัดรักษาตามมาตรฐาน การบริการสุขภาพจิตและจิตเวช จึงต้องดำเนินการด้านเชิงรุกในชุมชนเฝ้าระวัง บริการโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลนาโยงจึงได้ทำโครงการให้ความรู้โรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตายกับประชาชน ดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น การแจ้งเหตุ การติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่ให้เข้าถึงบริการและได้รับการรักษาต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.บุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 2.บุคลากรมีทักษะด้านการประเมินและการส่งต่อผู้ป่วยซึมเศร้าได้
3.บุคลากรสามารถส่งเสริมสุขภาวะและคัดกรองโรคซึมเศร้าเบื้องต้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 15:53 น.