กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้/เยี่ยมเสริมพลังผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด
รหัสโครงการ 67-50117-01-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 3,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ครอบครัวในปัจจุบันที่มีสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลกระทบทำให้แบบแผนการดำเนินชีวิตของครอบครัว เปลี่ยนแปลงไป การแพร่ระบาดของยาเสพติดที่สำคัญ พบว่ามาจากปัจจัยครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว เด็กขาดความอบอุ่น การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม บุคคลในครอบครัวติดการพนัน หรืออยู่ในครอบครัวที่มีบุคคลในครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งแทบจะทุกครอบครัวที่มี ผู้ติดยาเสพติด จะมีปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสังคมเกิดขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่อีกมากมาย ดังนั้น การตระหนักและให้ความสำคัญว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ การมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการเฝ้าระวังการเสพยาเสพติดในชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้แก่สมาชิกในครอบครัวที่มีแนวโน้มต่อปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่เสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จะช่วยให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างยั่งยืน และสร้างให้ครอบครัวเป็นสุข ชุมชนเข้มแข็ง พิจารณาข้อมูลผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดของคลินิกฟ้าใหม่โรงพยาบาลนาโยงในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๖ (ต.ค.๒๕๖๕ - มี.ค.๒๕๖๖) จำนวนผู้ป่วยยาเสพติดรายใหม่ ๑๑๖, ๖๘ และ ๑o๒ คน ตามลำดับ พบมีอาการทางจิตเวชร่วม ๔o, ๔๑ และ ๒๗ คนตามลำดับคิดเป็นร้อยละ ๓๔.๔๘, ๖o.๒๙ และ๒๖.๔๗ ตามลำดับ พบจิตเวชก่อความรุนแรง (SMIV) จำนวน ๑๘,๒๑ และ ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ
๔๕.oo, ๕๑.๒๑ และ ๕๑.๘๕ ตามลำดับ จะเห็นว่า แนวโน้มผู้ติดยาเสพติด ที่มีอาการทางจิตที่ก่อความรุนแรงมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นการดำเนินการคัดกรองค้นหาเชิงรุกในชุมชนและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตและสัญญานเตือนเสี่ยงก่อความรุนแรง โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และป้องกันการขาดยา โรงพยาบาลนาโยงจึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลและติดตามเยี่ยมเสริมพลังผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ในพื้นที่ให้เข้าถึงบริการและการรักษาต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อาสาสมัครสาธารสุขและผู้ดูแลสามารถประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยในชุมชนได้ ๒.อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลสามารถติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชตามแบบประเมินการดูแลผู้ป่วย ๑๐ ด้านได้ ๓.อัตราการก่อความรุนแรง ของผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดและอาการทางจิตลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 15:57 น.