กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ด้านทันตกรรมแก่แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง
รหัสโครงการ 67-50117-01-013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลนาโยง
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยณรงค์ มากเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพ ที่ต้องได้รับการดูแลแบบต่อเนื่อง ในขณะที่ศักยภาพของครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุถดถอยลงส่งผลให้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง นอนติดบ้าน ติดเตียง มีการดูแลที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านทันตสนุขภาพ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ รัฐบาลมุ่งเน้นและให้ความสำคัญอย่างมากในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ติดบ้าน ติดเตียง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพึงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม สถานการณ์ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง โรงพยาบาลนาโยง ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๖ มีผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงและติดบ้านจำนวน ๖๒ คน กระจายอยู่ทุกหมู่บ้านจำนวน ๗ หมู่บ้าน และพบว่าปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ คือ มีปัญหาการช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แม้ในครอบครัวที่มีผู้ดูแลก็ไม่ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วนและถูกต้องโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง มีความจำเป็นที่ควรจะได้รับบริการทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพกาย ใจ รวมทั้งสุขภาพช่องปากด้วย ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลอนามัยช่องปาก มีฟันเคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสมลดการสูญเสียฟัน สามารถคงสภาพช่องปากที่ดีไว้ตลอดชีวิตผสมผสานกับการรักษาและฟื้นฟูสภาพช่องปากบูรณาการกับการดูแลสุขภาพให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้มากที่สุด ดังนั้นกลุ่มงานบริการทางการแพทย์ (งานทันตสาธารณสุข) โรงพยาบาลนาโยงจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ด้านทันตกรรมแก่แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง ปีงบประมาณ ๒๕๖๗

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ประชุมวางแผน(19 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
2 จัดอบรมให้ความรู้(19 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 10,000.00                  
3 ติดตามสรุปผลโครงการ(19 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
รวม 10,000.00
1 ประชุมวางแผน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 0.00 0 0.00
19 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 ประชุมวางแผน ติดต่อประสานงานเพื่อจัดทำโครงการ 25 0.00 -
2 จัดอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 10,000.00 0 0.00
31 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ สาธิต และฝึกปฏิบัติให้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 25 10,000.00 -
3 ติดตามสรุปผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 0.00 0 0.00
19 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สรุปผลการให้ความรู้ด้านทันตกรรม 25 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลจากทันตบุคลากร และผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติเตียงมีผลทำให้สุขภาพช่องปากและฟันดีขึ้น   ๒. ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและญาติผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้องเหมาะสมตรงตามปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ   ๓. เกิดเครือข่ายจิตอาสาในชุมชนเพิ่มขึ้น และชุมชนมีศักยภาพในการเรียนรู้และสามารถดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ เกิดสังคมแห่งความเอื้ออาทร น่าอยู่ น่าอาศัย   ๔. เป็นตำบลต้นแบบในการดูแลทันตสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ที่สนใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 16:14 น.