กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนชุมชนบ้านคลองขุดเหนือร่วมใจป้องกันยาเสพติด หมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ
รหัสโครงการ L5300-67-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 บ้านคลองขุดเหนือ
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 16,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอำภรณ์ หวันยาวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
2.00
2 ร้อยละของเด็กและเยวชนในพื้นที่ มีทักษะและมีส่วนร่วมด้านการป้องกันตนเองให้ห่างไกลยาเสพติด
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศทั้งในพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน ทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การติดสารเสพติดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติ มีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจำนวนผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษาโครงการสร้างและสัมพันธภาพของครอบครัว การเลี้ยงดู ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งปัญหาอาชญากรรมหลายประเภทที่เกิดขึ้น เช่น คดีข่มขืน ฆ่า ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น ผู้ก่อเหตุในหลายคดีเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะในฐานะเป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ หรือผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติดเป็นตัวบ่อนทำลายความสงบสุขของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะต้องอาศัยการประสานความร่วมมือ ร่วมใจ จากทุก ๆ ฝ่ายของสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาเสริมสร้างพลังองค์กรชุมชนและสังคม โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสำคัญมากที่สุด และมีสัดส่วนมากที่สุด และเป็นการวางรากฐานเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมที่ดีเพื่อให้สังคมและชุมชนเข้มแข็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

2.00 3.00
2 เพื่อให้มีความรู้ ทักษะและมีส่วนร่วมด้านการป้องกันตนเองให้ห่างไกลยาเสพติดอย่างถูกต้องและเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะและมีส่วนร่วมด้านการป้องกันตนเองให้ห่างไกลยาเสพติดอย่างถูกต้องและเป็นแกนนำในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น ร้อยละ 80

3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 16,750.00 0 0.00
12 ม.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดและวิธีการปฏิเสธและเอาตัวรอดในสังคมปัจจุบันเพื่อไม่ให้ตัวเองไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 50 10,850.00 -
12 ม.ค. 67 - 27 ก.ค. 67 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสถานที่สาธารณะประโยชน์และศาสนสถานเป็นเวลา ๓ เดือน 50 5,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1.ชุมชนมีมาตรการในการป้องกัน แก้ไข โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลลัพธ์ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม และสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาป้องกันไม่ให้เกิดผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2567 09:34 น.