กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายเข้มแข็ง ชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L01-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.พิเทน
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2567
งบประมาณ 26,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโซเฟีย หะยีบูละ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา     ตำบลพิเทน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้น จากผลการดำเนินงานที่ผ่านพบว่าในปี 2564 2565 และ 2566 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 9.79 19.59 และ 93.77 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โดยการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับเวลาเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงลายชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก อย่างเต็มรูปแบบโดยเร่งรัดประสิทธิภาพการทำงานของพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหาสัปดาห์ต่อสัปดาห์ เพื่อให้ผู้บริหารในจังหวัดติดตามแก้ไขให้ตรงจุด เน้นควบคุมไม่ให้โรคแพร่ระบาดเพิ่มในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยใช้มาตรการ 3-3-1 คือ หลังโรงพยาบาลพบผู้ป่วย ให้รายงานโรคให้หน่วยควบคุมโรคของพื้นที่ภายใน 3 ชั่วโมง และให้หน่วยควบคุมโรคกำชับให้ อสม.ลงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน ชุมชนผู้ป่วยภายใน 3 ชั่วโมง และส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วหรือเอสอาร์อาร์ที ลงพื้นที่ควบคุมโรคภายใน 1 วัน เพื่อกำจัดวงแพร่ระบาดได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนและเครือข่ายมีความพร้อมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยวิธีหนึ่งที่สามารถ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคได้นั่นคือ การฟื้นฟูความรู้และเตรียมเวชภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกให้พร้อม รวมถึงการเน้นย้ำการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ดังกล่าวเพื่อตัดวงจรการเกิดและการระบาดของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าวและต้องเร่งดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายเข้มแข็ง ชุมชนร่วมใจ ต้านภัยไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนและเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 3.เพื่อให้เครือข่ายมีเวชภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกพร้อมใช้งานในการควบคุมโรคในพื้นที่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๒.กิจกรรมประชุมฟื้นฟูความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก - กลุ่มเป้าหมาย : อสม.จำนวน 68 คน บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ จำนวน 7 คน เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานควบคุมโรคติดต่อ อบต.พิเทน จำนวน 2 คน และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 5 คน รวมจำนวน 82 คน - สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน - ระยะเวลาดำเนินการ : เดือนพฤษภาคม 2567 - แนวทางการดำเนินงาน : ประชุมฟื้นฟูความรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.กิจกรรม มอบเซ็ตเวชภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกให้เครือข่ายสุขภาพ - กลุ่มเป้าหมาย : อสม.จำนวน 77 คน และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 5 คน รวม 82 คน - สถานที่ดำเนินการ : ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน - ระยะเวลาดำเนินการ : เดือนพฤษภาคม 2567 - แนวทางการดำเนินงาน : มอบเซ็ตเวชภัณฑ์ป้องกันโรคไข้เลือดออกให้เครือข่ายสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 75
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 75
  3. เครือข่ายสุขภาพมีเวชภัณฑ์พร้อมใช้งานในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567 15:45 น.