กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิก
รหัสโครงการ 67-L1515-01–01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.หทัยชนก ชำนาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลในปี 2566 เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือรับผิดชอบมีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 116 ราย และความดันโลหิตสูง จำนวน 229 รายรวม 345 ราย และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนในโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 44 ราย คิดเป็นร้อยละ12.75 ที่กล่าวขั้นต้น เป็นจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังทั้งหมดในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ ที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาลรัษฎาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ ได้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ ทั้งหมด 107 ราย และในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังในคลินิกเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นทุกปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ จึงเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยจึงได้จัดทำ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิกขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ร่วมรับรู้แก้ไขปัญหาร่วมกัน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้และความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ.2ส. และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 90 2.อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานลดลง 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ  90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 26,910.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ.2 ส. 50 23,110.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมที่2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ผิดนัดมารับบริการและมีค่าน้ำตาลในเลือดสูงและ ความดันโลหิตสูง 0 3,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน       2.อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง       3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2567 15:59 น.