กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการจัดการน้ำบริโภค ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2536-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 23,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงที่เกิดสถานการณ์วิกฤต เกิดอุทกภัยในพื้นที่ตำบลปูโยะ ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่ ในการทำให้น้ำมีคุณภาพในการอุปโภค-บริโภคได้อย่างปลอดภัยซึ่งแหล่งน้ำต่างๆในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบต้องได้รับการแก้ไขที่ถูกหลักตามหลักสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 รวมทั้งการรับรองคุณภาพ จากสถานการณ์น้ำท่วมมีจำนวนหลังคาเรือนของประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบบ่อจากน้ำท่วมจำนวน 1,382 หลังคาเรือน
ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ จึงจัดทำโครงการพัฒนาการจัดการน้ำบริโภคขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในการใช้น้ำที่ปลอดภัย ป้องกันโรคภัยต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคเป็นระบบ มีคุณภาพและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

2 เพื่อให้แหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบในช่วงอุทกภัยในตำบลปูโยะได้รับการฆ่าเชื้อโรคทุกหลังคาเรือน
  1. ร้อยละแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบในช่วงอุทกภัยในตำบลปูโยะได้รับการฆ่าเชื้อโรค
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. จัดประชุมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบในช่วงอุทกภัยในตำบลปูโยะ ได้รับการฆ่าเชื้อโรคทุกหลังคาเรือน
  2. ประชาชนมีแหล่งน้ำที่ในการอุปโภค-บริโภคได้อย่างปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 09:43 น.