กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L3026-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 122,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสาวีนา มะดีเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.673,101.329place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 122,480.00
รวมงบประมาณ 122,480.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกัน ควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค ภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลาย โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอกควัน ข้อมูลการเกิดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี มีอัตราป่วย 95.77 ต่อแสนประชากร ซึ่งอำเภอยะรังเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดและมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำได้รับรายงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ (ข้อมูลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2566 – 31 ตุลาคม 2566) มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย ด้วยกรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ ๒ ปี (พ.ศ. 2564 – 2565) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ. 2566 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มพบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 - 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมจนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ มีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 เพื่อดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนในพื้นที่และการป้องกันดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อความรวดเร็วในการออกควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของทีมควบคุมโรค

 

3 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 122,480.00 0 0.00
16 ม.ค. 67 - 29 ก.พ. 67 จัดซื้อเครื่องพ่นละอองฝอย 0 91,800.00 -
16 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 30,680.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนให้ความร่วมมือและตระหนักในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. บุคลากรสามารถควบคุมโรคได้รวดเร็วและทันท่วงที
  3. ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 11:01 น.