กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห่วงใย ใสใจการเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,495.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟัตเมาะห์ เจ๊ะซามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของคนไทยและอัตราการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หมดสติ เจ็บหน้าอกรุนแรง สำลักอาหาร เป็นต้น ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้บางรายอาจมีภาวการณ์หยุดหายใจกะทันหัน ถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร ในกรณีที่บริเวณเกิดเหตุมีเครื่องกระตุกหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ผู้ช่วยเหลือสามารถปฏิบัติการกู้ชีพร่วมกับการกระตุ้นหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้การกู้ชีพที่รวดเร็วภายใน 3-4 นาที หลังจากที่ผู้ป่วยเกิดอาการควบคู่กับการดูแลผู้ป่วยที่ชีพจรฟื้นคืนกลับมา อาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ถึง  50-70% แต่หากเกิดความล่าช้าโอกาสรอดชีวิตอาจลดลง 10-20% ต่อ 1 นาที ดังนั้นการได้รับ      การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีที่ถูกต้อง มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาล    อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญและต้องการลดอัตราการเสียชีวิต 80% จากการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อฝึกอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อให้บุคลากร เจ้าหน้าที่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี มีความรู้และทักษะ  ในการประเมินอาการและการช่วยชีวิต การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ด้วยการทำ CPR และการใช้เครื่อง AED ได้อย่างถูกต้อง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นในภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จึงเป็นหลักสูตรที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องก่อนนำส่งสถานพยาบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลอื่นได้อย่างถูกวิธีและทันเวลาก่อนถึงโรงพยาบาล 2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่อง AED ได้อย่างถูกต้อง

1.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ AED หลังฝึกปฏิบัติมีผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนรู้
2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ AED ได้อย่างถูกต้อง และผ่านการทดสอบการปฏิบัติตามแบบประเมินทักษะ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 2.1 วางแผนและเสนอโครงการ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2.2 ประสานงานกับหน่วยงานฝึกอบรมในการจัดวิทยากรให้ความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
2.3 จัดซื้อและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรม 2.4 ประสานงานไปยังกองต่างๆ และโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อจัดสรรบุคลากรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
2.5 จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 2.6 การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน Basic Life support ภาคทฤษฎี และการสาธิตปั๊มหัวใจ - การช่วยชีวิตพื้นฐานในผู้ใหญ่ - การช่วยชีวิตพื้นฐานในเด็ก     2.7 การฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยการทำ CPR
    2.8 การสาธิตการใช้เครื่อง AED และให้ผู้เข้าร่วมอบรมจำลองสถาณการณ์พบคนหมดสติ     2.9 ทำแบบทดสอบวัดความรู้ และทำแบบประเมินทักษะการปฏิบัติ
    2.10 ฟังการบรรยายการปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมฝึกปฏิบัติ - ความหมายของปฐมพยาบาล
- การพยาบาล กรณีฉุกเฉิน เช่น หมดสติ
- การวัดสัญญาชีพ - การพยาบาลผู้ป่วยเสียเลือด การห้ามเลือด - การพยาบาลผู้ป่วยแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - การพยาบาลผู้ได้รับสารพิษชนิดต่างๆ - การปฐมพยาบาลเมื่อถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย - ความรู้เรื่องโรคระบาดใหม่     2.11 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ     2.12 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ AED ได้อย่างถูกต้อง
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ AED ได้อย่างถูกต้อง
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการประเมินอาการ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 13:55 น.