กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริม ป้องกัน และดูแลสุขภาพตนเองของผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 85,609.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาอุดี เบ็ญราซัค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลรายงานให้บริการของสำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ในการดูแลผู้เดินทางไปแสวงบุญ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในปี 2566 มีผู้รับบริการทั้งหมด 8,914 คน ผู้ป่วยนอก 8,576 คน ผู้ป่วยใน 269 คน ส่งต่อ 69 คน เสียชีวิต 17 คน คือ ปัตตานี 6 คน รองลงมาเป็น นราธิวาสและกรุงเทพฯ จังหวัดละ 3 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ อยูในช่วงอายุ 51 - 60 ปี รองลงมา 61 - 70 ปี และ 41 - 50 ปี ตามลำดับ โรคที่พบบ่อย คือ โรคทางเดินหายใจ ร้อยละ 78.40 รองลงมา คือโรคปวดเมื่อยกล้มเนื้อ ร้อยละ 7.01 และโรคอื่นๆ ร้อยละ 14.59 จากข้อมูลพบว่า จังหวัดปัตตานีมีผู้เดินทางไปแสวงบุญเสียชีวิตในปี 2566 จำนวน 6 ราย จากภาวะ Acute Ml 2 ราย Caodio pulmonary arrest 2 ราย Pneumonia 1 ราย Cerebral hemorrhage 1 ราย ซึ่งกระบวนการดูแลสุขภาพประชาชนผู้แสวงบุญทำฮัจย์ ที่มีการปรับระบบบริการการดูแลสุขภาพทั้งก่อน ระหว่างไป และหลังเดินทางกลับ เป็นกระบวนการสำคัญท ที่ส่งผลให้การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากการเดินทางไปแสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีจำนวนลดลง ดังนั้น การเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านสุขภาพส่วนบุคคลและการเตรียมระบบการดูแลด้านสุขภาพของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่สำคัญ ที่จะส่งผลให้ประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่ลดลง   งานบริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ทั้งก่อนไปขณะแสวงบุญ และหลังจากกลับมา เพื่อให้ประชาชนผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้แสวงบุญอย่างสมบูรณ์ ดังคำกล่าวในฮาดิษที่ว่า "สุขภาพที่สมบูรณ์ นำมาซึ่งอีบาดัตที่สมบูรณ์" รวมทั้งเพื่อป้องกัน เฝ้าระวังโรคประจำถิ่นของตะวันออกกลาง ที่อาจจะมากับประชาชนผู็แสวงบุญ (ทำฮัจย์) จึงได้มีการจัดโครงการ ส่งเสริม ป้องกัน และดูแลสุขภาพตนเองของผู็แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วางแผนและเสนอโครงการ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ประสานกับพิธีกรดำเนินรายการ และวิทยากรให้ความรู้เรื่องการเตรียมตัว เตรียมสุขภาพก่อนเดินทางไปแสวงบุญ
  3. จัดซื้อและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรม พร้อมทั้งจัดเคชตรียมสถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรม
  4. ประสานงานไปยังผู้รับผิดชอบงานฮัจย์ของแต่ละตำบล ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อจัดบุคลากรและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  5. จัดอบรมให้ความรู้ คัดกรองสุขภาพ ฉีดวัคซีน กับผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ก่อนไปและมีการติดตามหลังจากกลับมา
  6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  7. ประชุมถิดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯทราบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) ได้รับการคัดกรองสุขภาพ
  2. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีความรู้การเตรียมตัวก่อนไป การปฏิบัติขณะประกอบพิธีฮัจย์ และหลังจากกลับมาได้อย่างถูกต้อง
  3. ผู้แสวงบุญ (ทำฮัจย์) มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับฮัจย์ที่สมบูรณ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 14:05 น.