กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุนัต (ขลิบ) เยาวชนเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 171,984.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาอุดี เบญราซัค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักปฏิบัติอย่างหนึ่งของศาสนาอิสลาม คือ การเข้าสุนัตหรือคิตานหรือมาโซ๊ะยาวี (ภาษามลายู) เป็นพีธีกรรมอย่างหนึ่งที่มุสลิมทุกคนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การเข้าสู่พิธีสุนัตนิยมทำในวัยเด็ก เป็นการรักษาความสะอาดของร่างกาย ในสมัยก่อนชาวมุสลิมส่วนมากนิยมเข้าพิธีสุนัตกับหมอแผนโบราณหรือที่มุสลิมเรียกว่า "โต๊ะมูเด็ง" แต่ในปัจจุบันเพื่อความปลอดภัยจึงใช้แพทย์แผนปัจจุบันเป็นผู้ทำพิธีการเข้าสุนัตที่ประชาชนในพื้นที่ได้ถือปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องของชาวมุสลิม ซึ่งในตามหลักการของศาสนาอิสลามนัั้นได้กำหนดไว้ว่าเมื่อเด็กอายุประมาณ 7-15 ปี ผู้ปกครองต้องจัดทำพิธีเข้าสุนัตหรือคิตานหรือมาโซ๊ะยาวี การเข้าสุนัต คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกเพื่อให้สะดวกในการทำความสะอาด ซึ่งที่ปัสสาวะค้างอยู่ที่อวัยวะเพศเพศนั้นตามหลักการของศาสนาอิสลามถือว่าเป็นสิ่งสกปรก การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวทางปฏิบัติที่ต้องกระทำเพื่อความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญกาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหลังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า Smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมถึงมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหลังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบขะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารกก็จะลดโอกาศการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าการขลิบหลังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือ "ทำสุนัต" (ภาษามลายู) มักทำกับหมอบ้านหรือ "โต๊ะมูเด็ง" จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่าการทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่เเข็งแรง การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่นติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี งานศูนย์บริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญชองการขลิบหลังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือการเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยทีมบุคคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลปัตตานี ที่มีความรู้ทักษะด้านการการขลิบหลังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น   ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน งานบริการสาธารณสุขกะลาพอ กองสาธารณสุขปละสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนชาย จึงได้จัดทำโครงการสุนัต (ขลิบ) เยาวชนเทศบาลเมืองปัตตานีเพื่อสุขภาพ ปลอดภัย ห่างไกลโรค ประจำปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อ 2. เพื่อบริการทำขลิบหนังอวัยวะเพศชาย แก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะเลือดออก 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกัน
  1. ร้อยละ 85 ของเด็กและเยาวชน เข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค
  2. ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชน สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะเลืดออกมาก
  3. ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและป้องกัน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วางแผนและเสนอโครงการ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. จัดประชุมร่วมกับผู้บริหาร และแต่งตั้งคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี สำหรับผู้ที่ประสงค์เข้าร่วม
  4. จัดทำตารางเวลา กำหนดการ เพื่อดำเนินการเข้าสุนัตหมู่แก่เด็กและเยาวชน
  5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  6. ประชุมถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯทราบเมื่อสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชน และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ
  2. เด็กและเยาวชนได้รับการทำสุนัต (ชลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดความเสี่ยงเลือดออกและภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ
  3. เด็กและเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ได้รับการบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 14:49 น.