กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการตั้งครรภ์และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 67-L7884-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 81,745.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชาลี แสงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์จังหวัดปัตตานี วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จากการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พบว่า การเฝ้าระวังอัตราการคลอดมีชีพใน เด็กและเยาวชนหญิงอายุระหว่าง 15-19 ปี จังหวัดปัตตานี จำนวน 26,703 คน และอัตราการคลอดมีชีพอายุระหว่าง 10-14 ปี จำนวน 26,579 คน ปีงบประมาณ เด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและขาดความรับผิดชอบตัวเอง จึงมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น  เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง และยังมีผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมทั้งมีความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูลูก กระทำความรุนแรงในครอบครัว กลายเป็นแรงงานราคาถูก ครอบครัวแตกแยก สภาวะทางอารมณ์ไม่มั่นคงจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเครียด และภาวะซึมเศร้าเพราะต้องการปกปิดเรื่องการตั้งครรภ์หรือการมีลูกต่อผู้ปกครอง และยังอาจจะเกิดปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมาอีกมาก และปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังขาดภูมิคุ้มกัน และทักษะในการดำเนินชีวิตภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ผลกระทบประการสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ คือการตั้งครรภ์ พบว่า แม่คลอดบุตรตั้งแต่จากโรงพยาบาลปัตตานี ตั้งแต่อายุ 15-19 ปี มีจำนวน 4,660 คน ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังขาดภูมิคุ้มกัน และทักษะในการดำเนินชีวิตภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ในยุคปัจจุบัน มาตรการที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มเยาวชนได้อย่างแท้จริงและมีความยั่งยืนประการหนึ่ง คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงและหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้ เด็กและเยาวชนต้องมีความตระหนักถึงการมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยต่อตนเองและสังคมด้วย การให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน เรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ความรุนแรงของปัญหา ตลอดจนผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ดังนั้น เทศบาลเมืองปัตตานี จึงจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ ๒ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้ร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร


ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะชีวิตในการคิด การป้องกันตนเอง และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

2 ๑ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ ๒ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 2.1 กิจกรรมที่ 1 อบรม 2.2 กิจกรรมที่ 2 ผู้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์และคลอดบุตรก่อนวัยอันควร - เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างระหว่างชายหญิง - เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ - การป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 2.3 กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ในเขตเทศบาลมีจำนวนลดลง 3.เยาวชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
4.เยาวชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 14:53 น.