กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสานพลังชุมชน ปลอดบุหรี่ ลดปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคบนสังคมพหุวัฒนธรรมในผู้นำศาสนาเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปี 2567 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,615.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารดา เจะสอเหาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตที่สำคัญ ซึ่งองค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน โดยบุหรี่/ยาสูบ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบ ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะจากสารพิษในบุหรี่ให้กับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและประชาชนจึงมีความจำเป็นในการลดการเกิดโรคที่สำคัญดังกล่าว และเป็นการลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเป็นโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกล่าสุดพบว่าแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 5,000,000 คนบุหรี่ นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยด้วยโรคต่างๆ แล้ว การสูบบุหรี่ยังก่อความสูญเสียต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาลอีกด้วย โดยจากรายงานของธนาคารโลกพบว่า การสูบบุหรี่ก่อความสูญเสียต่อเศรษฐกิจทั่วโลก 8 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำประมาณ 1,100 ล้านคน จะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 10 ล้านคน โดยเป็นประชากรของประเทศพัฒนาแล้ว 3 ล้านคน และประเทศกำลังพัฒนา 7 ล้านคน จากข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2565 พบว่า อัตราการบริโภคยาสูบของกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี ร้อยละ 15.2 สูงเป็นอันดับสามรองจากประชากรกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 25-59 ปี และกลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้เยาวชนและสตรียังมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น
  สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่มีผลในการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ของคนในประเทศไทยมากขึ้น เขตเทศบาลเมืองมีศาสนสถาน วัด มัสยิด ทั้งสิ้น 16 แห่ง มีผู้นำศาสนาทั้งสิ้น 80 ราย สูบบุหรี่ 30 ราย ไม่สูบบุหรี่ 50 ราย ฝ่ายเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี จึงดำเนินโครงการ "สานพลังชุนชน ปลอดบุหรี่ ลดปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังบนสังคมพหุวัฒนธรรมในผู้นำศาสนา เขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปี 2567 " เพื่อเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนให้ ศาสนสถานเป็นสถานที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนครอบครัว และชุมชน เพราะถือว่า ศาสนสถาน ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน คติความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น เป็นศูนย์รวมให้ชาวบ้านกับชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นสัญลักษณ์ทางกายภาพและจิตวิญญาณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่น ศาสนสถานและชุมชนต้นแบบในสร้างสุขภาพ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งโดยใช้คนในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ กับประชาชน ชุมชน โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และเกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเอื้อโอกาสต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้นำศาสนามีความรู้และการเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาวะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการ สูบบุหรี่ 2.เกิดข้อตกลงร่วมในการควบคุมบุหรี่/ยาสูบ ภายในศาสนสถานในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 3. เกิดสภาพแวดล้อมในการควบคุมบุหรี่/ยาสูบ ในชุมชน วัด มัสยิด ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ ตามกฎหมาย 4.เพื่อรณรงค์ให้ผู้นำศาสนาที่สูบบุหรี่สามารถ ลด ละ เลิก บุหรี่ได้

1.จำนวนผู้นำศาสนา ได้รับความรู้และการเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2. ผู้นำศาสนา ร้อยละ 80 รับทราบข้อตกลงในการควบคุมบุหรี่/ยาสูบในชุมชน 3.เกิดสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมายเพิ่มขึ้น    ในศาสนสถานเขตเทศบาลเมืองปัตตานี
จำนวน 16 แห่ง ได้แก่
ตำบลอาเนาะรู - วัดตานีนรสโมสร พระอารามหลวง
- วัดนิกรชนาราม
- มัสยิดนูรุลยากีน - มัสยิดปากีสถาน
- มัสยิดซีอารุลอิสลาม
- มัสยิดกลางปัตตานี ตำบลสะบารัง
- วัดนพวงศาราม - มัสยิดญามีอุสซอลาฮ์ - มัสยิดอัล-อิควาเนียะห์
- มัสยิดนูรุลอิสลาม
- มัสยิดนูรุลฮาดี
- มัสยิดยูมูอียาตุลซอลีฮีน
- มัสยิดนูรุตเตาฟิก
- มัสยิดยูโยปะซี
- มัสยิดนูร์ปการอ
ตำบลจะบังติกอ - มัสยิดรายา 4.1 จำนวนผู้นำศาสนาที่สูบบุหรี่ สามารถลด ละ เลิกที่บุหรี่/ยาสูบ อย่างน้อยร้อยละ 20 (อย่างน้อย
6 คน จาก 30 คน)
4.2 จำนวนผู้นำศาสนาที่สูบบุหรี่ สามารถ            ลด ละเลิกบุหรี่/ยาสูบ ไม่ต่ำกว่า 6 เดือนขึ้นไป  อย่างน้อยร้อยละ 10 (อย่างน้อย 3 คน จาก 30 คน)
4.3 เกิดบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (อย่างน้อย 3 คน จาก 30 คน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีดำเนินการ 2.1 จัดทำแผนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2.2 จัดประชุมคณะดำเนินการและผู้รับผิดชอบโครงการ 2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการผู้นำศาสนาในแต่ละพื้นที่ทราบและสำรวจผู้นำศาสนาที่สูบบุหรี่เพื่อที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ 2.4 จัดทำทะเบียน กลุ่มไม่สูบบุหรี่ กลุ่มติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยง สำรวจข้อมูลผู้นำศาสนา จำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนเริ่มโครงการและก่อนสิ้นสุดโครงการ โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์การดำเนินงาน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยสำรวจข้อมูล ดังต่อไปนี้

- จำนวนผู้นำศาสนาที่สูบบุหรี่/ยาสูบในชีวิตประจำวัน - จำนวนสถานที่ปลอดบุหรี่
2.5 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำศาสนาในชุมชน เรื่องพิษภัยการสูบบุหรี่และผลกระทบของบุหรี่ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควันบุหรี่มือสอง พรบ.ยาสูบ 2560 และความรู้เกี่ยวกับสถานที่ปลอดบุหรี่ ตามกฎหมาย และกำหนดข้อตกลงร่วมกันของผู้นำศาสนา เพื่อป้องกันและควบคุมการสูบบุหรี่/ยาสูบในชุมชน โดยเฉพาะการสร้างสภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่ในศาสนสถาน พร้อมทั้งจัดเวทีประชาคมคืนข้อมูล และร่วมกำหนดข้อตกลง เพื่อลด ละ เลิกการสูบบุหรี่/ยาสูบการคืนข้อมูลผลสำรวจสถานการณ์การสูบบุหรี่ในชุมชน ได้แก่ จำนวนคนสูบบุหรี่ ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองและมือสาม สถานที่ปลอดบุหรี่ 2.6 จัดกิจกรรมรณรงค์ชุมชนปลอดบุหรี่ 2.7 จัดทำและติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ในชุมชน และติดป้ายข้อตกลงที่ประชาชนในชุมชนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น วัดและมัสยิด สถานที่ราชการ บ้านปลอดบุหรี่ ให้สอดคล้องกับข้อตกลงของชุมชน  ที่กำหนดไว้
2.8 จัดกิจกรรมช่วยเลิกบุหรี่โดยประสานความร่วมมือกับ “โรงพยาบาลปัตตานี” ซึ่งอาจจะมีการสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเพื่อจูงใจให้ผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการ เช่น - จัดกิจกรรมช่วยเลิกบุหรี่ให้มีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อลดการใช้ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การใช้สมุนไพร (กานพลู มะนาว) นวดกดจุดเท้า เป็นต้น - ให้ข้อมูลและความช่วยเหลือรวมถึงประสานงานกับสถานบริการสุขภาพชุมชน (เช่น คลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลปัตตานี)
- กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจในการเลิกบุหรี่ 2.9 การติดตามการลด ละ เลิกบุหรี่และให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ ทำการติดตามและให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ และเก็บบันทึกข้อมูลการเลิกบุหรี่รายบุคคลทุก 1, 3 และ 6 เดือน - เก็บบันทึกข้อมูลการเลิกบุหรี่รายบุคคลและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการ ติดตาม แต่ละครั้ง - รวบรวมข้อมูลจากการติดตามเพื่อนำมาคืนข้อมูลให้คณะทำงานและผู้สูบบุหรี่ เพื่อจะได้ร่วมกันวางแผนและปรับปรุงการดำเนินงาน 2.10 การยกย่องเชิดชูและให้รางวัลผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ และยกย่องเป็นบุคคลต้นแบบ  โดยพิจารณาจากข้อมูลการติดตาม และเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลต้นแบบ ซึ่งมีการกำหนดร่วมกันระหว่าง คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้นำศาสนาที่สูบบุหรี่ในชุมชนสามารถลด ละ เลิกบุหรี่ได้
    1. ผู้นำศาสนามีความรู้และการเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาวะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่
    2. ผู้นำศาสนาสามารถขับเคลื่อนในการจัดกิจกรรมกลุ่มส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องในระดับหมู่บ้านให้ประชาชนเห็นความสำคัญของพิษบุหรี่ ผลกระทบและความสูญเสีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมนำไปสู่การลด ละ เลิกสูบบุหรี่
    3. มีเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายในวัด มัสยิด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 15:00 น.