กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมเด็กปฐมวัยเทศบาลเมืองปัตตานี สู่ SMART KIDS 5 ด้าน (เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันไม่ผุ และไม่มีภาวะโลหิตจาง) ปีงบประมาณ 2567 (ประเภทที่ 1)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมเด็กปฐมวัยเทศบาลเมืองปัตตานี สู่ SMART KIDS 5 ด้าน (เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันไม่ผุ และไม่มีภาวะโลหิตจาง) ปีงบประมาณ 2567 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 300,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิธิรา ไชยชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้ (ศบ.สต.) ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาสุขภาพเด็กปฐมวัย จึงนำมาเป็นจุดเน้นในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเด็กปฐมวัย จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อพัฒนางานไปในทิศทางเดียวกัน จากนโยบาย “ปัตตานีสมาร์ทคิตส์” กล่าวว่า ภาวะโภชนาการของเด็กปัตตานี มีเด็กผอมและเด็กเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำที่สุดในประเทศไทย และเรื่องของวัคซีน พบว่าการครอบคลุมในการรับวัคซีน ต่ำมากเกือบทุกตัว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับวัคซีนช้า ไม่เห็นประโยชน์ของวัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง และปัญหาภาวะโลหิตจาง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการต่ำและการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดวาระสำคัญที่จะพัฒนาเด็กวัย 0-5 ปี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ Pattani Smart kids และจัดกิจกรรมเปิดตัว Pattani Smart Kids พร้อมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยได้รับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1,2,3 และ สำนักการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี เพื่อจัดการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้ สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมส่งเสริมในเรื่องการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าระวังฟัน และวัคซีน เพื่อสร้างเด็กตานี ดี 10 อย่าง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมตามวัย
เด็ก สมาร์ทคิตส์ คือเด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 และต้องมีสุขภาพครบ 5 ด้าน อย่างน้อยร้อยละ 60 ได้แก่ ฟันดี วัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วนและไม่ซีด เมื่อพิจารณาเด็กที่ผ่านสมาร์ทคิตส์ ณ ไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2561 พบว่า มีเด็กสมาร์ทคิตส์ ร้อยละ 35.2 โดยพิจารณารายด้านพบว่า ด้านวัคซีนไม่ผ่านร้อยละ 51.6รองลงมาคือด้านโภชนาการไม่ผ่าน ร้อยละ 15.6 ด้านพัฒนาการไม่ผ่านร้อยละ 7 และด้านทันตกรรมไม่ผ่าน ร้อยละ 3.1 ในปี2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ให้ความสำคัญกับเด็กปฐมวัย จัดโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวมและครบวงจร แก้ปัญหาเด็กทั้ง 5 ด้าน Pattani Smart kids ขึ้น ผลการดำเนินงาน SMART KIDS พบว่าผ่าน 5 ด้าน (4D plus) เพียงร้อยละ 2.04 ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ ภาวะโลหิตจาง คิดเป็น ร้อยละ 75.32 รองลงมาคือฟันผุ คิดเป็น ร้อยละ70.14  ปัญหาวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 67.92 ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 43.1 และด้านพัฒนาการ พบปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย คิดเป็นร้อยละ 30.08 อำเภอเมืองผ่าน 5 ด้าน (4D plus) คิดเป็นร้อยละ 2.42 ด้านที่เป็นปัญหามากที่สุด คือเด็กมีภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 81.02 รองลงมา ฟันผุ คิดเป็นร้อยละ 72.19 ปัญหาวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ คิดเป็น ร้อยละ56.59 ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 37.57 และพัฒนาการไม่สมวัย คิดเป็นร้อยละ 28.95 ส่วนในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 3 ตำบล ผลการดำเนินงานพบว่า ผ่าน 5 ด้าน (4D plus) คิดเป็นร้อยละ 3.02 ด้านที่เป็นปัญหามากที่สุด คือภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 84.50 รองลงมาฟันผุ คิดเป็น ร้อยละ 66.19  มีปัญหาภาวะโภชนาการต่ำ คิดเป็นร้อยละ 44.12  ปัญหาเด็กฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ คิดเป็น ร้อยละ 35.33 ปัญหาที่พบน้อย คือ ปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย คิดเป็นร้อยละ 21.80 (ข้อมูลจากโปรแกรมระบบรายงานข้อมูลสุขภาพเด็กปฐมวัย 4D ณ วันที่ 11/10/66) ซึ่งเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 60
จากผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ในเขตเทศบาลเมือง ที่ผ่านมาพบปัญหาในเรื่องการไม่มาตามนัด /ล่าช้า/บ่ายเบี่ยง /ผู้ปกครองปฏิเสธ ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการดูแลสุขภาพครบทั้ง 5 ด้านเนื่องจากบางกิจกรรรม เช่น กิจกรรมพัฒนาการ คัดกรองภาวะโลหิตจาง ควรตรวจคัดกรองในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนั้นทางโรงพยาบาลปัตตานี โดยกลุ่มงานเวชกรรมสังคม เห็นความสำคัญในการส่งเสริมเด็กปฐมวัย (0- 5 ปี) ให้ได้รับการดูแลสุขภาพและเข้าถึงบริการครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยเทศบาลเมืองปัตตานี สู่ SMART KIDS 5 ด้าน (เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันไม่ผุ และไม่มีภาวะโลหิตจาง) โดยให้บริการทั้งตั้งรับและเชิงรุกในชุมชนเพื่อให้เด็กปฐมวัยเทศบาลเมืองปัตตานี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่ดีมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

การดำเนินการโครงการส่งเสริมเด็กปฐมวัยเทศบาลเมืองปัตตานี สู่ SMART KIDS 5 ด้าน (เด็ก 0-5 ปี) มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน วัคซีนครบตามเกณฑ์ ฟันไม่ผุ และไม่มีภาวะโลหิตจาง) ปีงบประมาณ 2567 มีวิธีการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ รายละเอียดดังต่อไปนี้ ขั้นเตรียมการ 1. รวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพ ทั้ง 5 ด้าน ของเด็กปฐมวัย 0-5 ปี พร้อมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์ในระดับพื้นที่ (ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 16/11/66) 1.1 คัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ปี 2566 เป้าหมาย 1,434 คน คัดกรอง 1,275 คน คิดเป็นร้อยละ 88.91 สมวัย 1,019 คน คิดเป็นร้อยละ 79.92 สงสัยล่าช้า 256 คน คิดเป็นร้อยละ 20.08  ส่งต่อ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.17 1.2 เด็กได้รับวัคซีนเด็ก 0-5 ปีได้รับภูมิคุ้มกันโรค ปี2566 อายุ Fully1 ปี Fully2 ปี Fully3 ปี Fully5 ปี เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ เทศบาลเมือง 276 222 80.43 293 194 66.21 317 199 62.78 347 179 51.59

1.3 การคัดกรองด้านภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ปี2566 เป้าหมาย 1714 คน คัดกรอง จำนวน 1263 คน ร้อยละ 73.69ภาวะโภชนาการปกติจำนวน 657 คน ร้อยละ 52.10 ภาวะโภชนาการบกพร่องจำนวน 362 คน ร้อยละ 28.66 1.4 การคัดกรองสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-5 ปี 2566 เป้าหมาย 1714 คน  คัดกรองจำนวน 1023 คน คิดเป็นร้อยละ 59.68 ตรวจฟันในเด็กอายุ 18 เดือน เป้าหมาย 233 คน ได้รับการการตรวจช่องปาก 61 คน คิดเป็นร้อยละ 26.18 พบฟันไม่ผุ 58 คน คิดเป็นร้อยละ95.08 ฟันผุจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.92 ตรวจฟันในเด็กอายุ 3 ปี เป้าหมาย 299 คน ได้รับการการตรวจช่องปาก 103 คน คิดเป็นร้อยละ 34.45 ปราศจากฟันผุ 49 คน คิดเป็นร้อยละ 47.57 ฟันผุจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 52.43 1.5 การคัดกรองภาวะโลหิตจาง กลุ่มเป้าหมาย 6- 12 เดือน ปี 2566 เป้าหมาย 277 คน คัดกรอง จำนวน 118 .คน คิดเป็นร้อยละ 42.60 ไม่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 57.63 พบภาวะโลหิตจาง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 42.37 จากการรวบรวมข้อมูล พบว่า เด็กปฐมวัย 0-5 ปี ในพื้นที่เขตบริการยังพบปัญหา เด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า มีภาวะโภชนาการบกพร่อง  มีปัญหาวัคซีนเด็กไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์ อีกทั้งปัญหาสุขภาพช่องปากยังพบเด็กมีภาวะฟันผุ และมีภาวะโลหิตจาง อยู่เป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 48.02
2. ประชุมชี้แจงและนำเสนอปัญหาแก่คณะกรรมการในระดับต่างๆเพื่อหาแนวทางการดำเนินการและจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา ชี้แจงเหตุผล ความจำเป็นและวัตถุประสงค์โครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน 3. นำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานีเพื่อให้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ 4. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินการตามโครงการ จำนวน 25 คน 5. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการโครงการ ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ทีมเจ้าหน้าที่และ อสม. ลงตรวจคัดกรองและประเมินสุขภาพเชิงรุกพร้อมประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพ ในเด็กปฐมวัย 0–2 ปี ทั้งหมด 18 ชุมชน ๆ ละ 1 วัน ทั้ง 3 ตำบล ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ทั้ง 5 ด้าน /ให้คำแนะนำ/ ค้นหาปัญหา กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่ไม่ผ่าน SMART KIDS และเด็กที่ผู้ปกครองขาดนัด / บ่ายเบี่ยง/ปฏิเสธ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
- ด้านพัฒนาการสมวัย - ด้านโภชนาการ (สูงดีสมส่วน) - ด้านสุขภาพปาก และฟัน - ด้านสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค - ด้านภาวะโลหิตจาง กิจกรรมที่ 2 ติดตามดูแลเด็กปฐมวัย 0 – 2 ปี ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการบกพร่องเตี้ยและผอม จำนวน 139 คน (จากฐานข้อมูล HDC ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 วันที่ 16/11/66 ) กิจกรรมแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการบกพร่อง เด็กขาดสารอาหาร เตี้ย/ ผอม (โดยใช้เกณฑ์  11 กรัม/เดซิลิตร ไม่มีภาวะโลหิตจาง  ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก รับประทานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันภาวะซีดและช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และช่วยพัฒนาการสมองและสติปัญญา Hb < 11 กรัม/เดซิลิตร มีภาวะโลหิตจาง  จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก ให้รับประทาน 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน รับประทานทุกวัน นาน 3 เดือน พร้อมทั้งให้คำแนะนำรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ติดตามภาวะซีดซ้ำ อีก 1 เดือน กรณีพบภาวะซีดซ้ำ ส่งพบแพทย์ กิจกรรมที่ 4 ติดตามดูแลเด็กปฐมวัย 0 – 2 ปี ที่สงสัยหรือมีพัฒนาการล่าช้า และมีปัญหาด้านสุขภาพ จำนวน 109 คน
- อบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 0 – 2 ปี ที่สงสัย หรือมีพัฒนาการล่าช้าและมีปัญหาด้านสุขภาพ เรื่อง “การดูแลสุขภาพ และส่งเสริมการพัฒนาการเด็กปฐมวัย”จำนวน 65 คน/1ครั้ง1 วัน - ส่งเสริมผู้ปกครองกระตุ้นพัฒนาการในเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ด้วยอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
- ติดตามเยี่ยมบ้าน ดูแลต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมและติดตามดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กปฐมวัย 0 – 5 ปี กิจกรรมฟันดีเริ่มที่ซี่แรก 1. ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลรายบุคคลที่พาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กสุขภาพดี
2. ตรวจฟันเด็กที่มารับบริการฉีดวัคซีนในคลินิกเด็กสุขภาพดี ทุกคนและทุกช่วงอายุ และประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุ 3. ตรวจฟันเด็กเด็กปฐมวัยใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ทุกคนและทุกช่วงอายุ และประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุ 4. ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็กปฐมวัยในในคลินิกเด็กสุขภาพดี/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียน 5. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครอง ด้วยชุดทำความสะอาดฟัน ดังนี้ - ถุงนิ้ว เริ่มใช้ในช่วง 6 เดือน เพื่อให้ผู้ปกครองฝึกการทำความสะอาดช่องปากของลูกและฝึกให้ลูกชินกับการทำความสะอาดช่องปากเนื่องด้วยเด็กเริ่มกินอาหารในช่วง 6 เดือน จำนวน 265 คน - แก้วหัดดื่ม เริ่มใช้ในเด็ก 9 เดือน เพื่อฝึกให้เด็กดื่มนมกับแก้วแทนนมขวด เพราะในช่วงอายุ 1 ปี – 1 ปี 6 เดือน เด็กต้องเลิกนมขวด เพราะถ้าเด็กยังติดขวดนม อมจุกนมคาในปากขณะหลับ จะส่งผลทำให้ฟันผุและหูชั้นกลางอักเสบ จำนวน 208 คน - แปรงสีฟันและยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เริ่มใช้ในเด็กที่มีฟันขึ้นซี่แรก เพื่อป้องกันฟันผุและฝึกผู้ปกครองแปรงฟันแห้งโดยเฉพาะเด็กอายุ 18 เดือน เนื่องด้วยฟันน้ำนมในช่วงนี้เริ่มจะมีมากขึ้น วิธีการแปรงฟันแห้งช่วยให้ฟลูออไรด์อยู่ในช่องปากได้นาน และส่งผลในการป้องกัน รักษาฟันผุอย่างมีประสิทธิ์ภาพ โดยเฉพาะเด็กที่ฟันผุมากๆจะช่วยรักษาฟันที่ผุได้ จำนวน 233 คน
กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 0-5 ปีพาบุตรมารับบริการในคลินิกเด็กสุขภาพดี เพื่อให้เด็กได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ส่งผลให้เด็กมีสุขภาวะดี สู่ SMART KIDS    โดยมอบนมกล่องเสริมโภชนาการ นมรสจืดขนาดปริมาณกล่องละ 125 ml คนละ 12 กล่อง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ปกครองพาบุตรมารับบริการส่งเสริมสุขภาพในคลินิกเด็กสุขภาพดี
เงือนไข : เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป (เด็กเกิดตั้งแต่ 1 ต.ค.2562)           : เด็กต้องมารับบริการที่คลินิกเด็กสุขภาพดีเท่านั้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็กปฐมวัย 0 - 5 ปี ได้รับการดูสุขภาพ ตรวจคัดกรองสุขภาพ และพัฒนาการเด็กที่มีคุณภาพ และครอบคลุม ครบถ้วน 2. เด็กปฐมวัย 0 - 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า และมีปัญหาด้านสุขภาพ ได้รับการดูแล ส่งเสริม แก้ไข และรักษา อย่างถูกต้อง มีคุณภาพ มาตรฐาน และต่อเนื่อง 3. เด็กปฐมวัย 0 - 5 ปีทีมีปัญหาภาวะโภชนาการบกพร่องได้รับการส่งเสริมและติดตาม ที่มีคุณภาพ ครอบคลุม ครบถ้วน และเหมาะสม 4. ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 0-5 ปี ได้อย่างถูกวิธี 5. เด็กปฐมวัย 0 - 5 ปีมีภาวะโลหิตจางและมีปัญหาด้านสุขภาพ ได้รับการดูแล ส่งเสริม แก้ไขและรักษา อย่างถูกต้อง มีคุณภาพ ครอบคลุม ครบถ้วน และเหมาะสม 6. เด็กปฐมวัย 0 - 5 ปี มีพัฒนาพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ปราศจากฟันผุ ภูมิคุ้มกันโรคครบ ไม่มีภาวะโลหิตจาง และเป็นเด็กคุณภาพ SMART KIDS

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 15:09 น.