กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ห่างไกลพลัดตกหกล้ม (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานผู้สูงอายุ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 77,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฎารตา จินดารัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชาชนไทยมีอายุยืนขึ้น ผลจากการที่มีอายุมากขึ้นย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลง ตามธรรมชาติ เนื่องจากความชราระบบอวัยวะต่างๆ จะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง ทำให้อุบัติการณ์ของโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย และด้านจิตใจ นำไปสู่ปัญหาทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว

การตรวจสุขภาพเป็นระยะ รวมทั้งการให้ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุเฝ้าระวังในการดูแลสุขภาพของตนเอง ผู้สูงอายุหลายคน เมื่อไปพบแพทย์ มักจะมีความคาดหวังว่าแพทย์ต้องให้การ รักษา หรือให้ยาที่จะทำให้หายจากโรคต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด แต่ใน ความเป็นจริง การป้องกันหรือรักษาอาการป่วยต่างๆได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญคือการ ดูแลตนเองก่อนที่โรคเหล่านั้นจะพัฒนาไปถึงขั้นที่รักษาไม่หาย หลายโรคในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนเกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดัน โรคข้อเข่าต่างๆ


และยังพบว่าผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ที่มีความเสี่ยงหกล้มได้รับการเข้าถึงการบริการดูแลรักษาสุขภาพทางด้านสาธารณสุขจำนวนน้อยมาก เนื่องจากสภาพร่างกายผู้สูงอายุโดยธรรมชาติ ช่วยเหลือตัวเอง    ได้น้อย รวมถึงในเขตฯ เป็นเขตสังคมเมืองเพื่อนบ้านต่างคนต่างอยู่ ลูกหลานไม่มีเวลาดูแล ต้องออกไปทำงานหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว หากเกิดการหกล้มในผู้สูงอายุขึ้นแล้วมีแนวโน้มที่จะพิการ และเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ไม่ว่า จะเป็นสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเอง


ดังนั้น การออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อการเข้าถึงการบริการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การให้ข้อมูลความรู้เรื่องวิธีการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การประเมินความเสี่ยงการหกล้มด้วยตนเอง หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะมาช่วยป้องกันการหกล้ม การออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งมีวิธีออกกำลังกายง่ายๆ สามารถทำเองได้ที่บ้าน รวมทั้งหากผู้สูงอายุเกิดหกล้มจะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด และจากการสอบถามตัวแทนแกนนำสุขภาพในชุมชน ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันภาวะพลัดตกหกล้ม และวิธีการประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ โดยแบบประเมิน          คัดกรอง Falling assessment tool เพื่อการดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มดังกล่าวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมตัวแทนแกนนำสุขภาพในชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ
      และทำความเข้าใจถึงแผนดำเนินการตามโครงการฯ
  2. ตัวแทนแกนนำสุขภาพในชุมชน ขยายลงเครือข่ายร่วมคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชนโดยคัดกรอง
      ประเมิน falling assessment tool
  3. ดำเนินการเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุตามแบบประเมินที่มีความเสี่ยงหกล้มดำเนินการ
  4. ประสานงานขอสนับสนุนวิทยากรจาก โรงพยาบาลปัตตานี
  5. อบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน โดยมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมดังนี้   • ผู้เข้าร่วมโครงการทำแบบประเมินก่อนและหลังให้ความรู้   • กิจกรรมบรรยายเรื่องสรีระวิทยากับการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ   • กิจกรรมการเข้าฐาน ประกอบด้วย การให้ความรู้และประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุ การให้ความรู้
      เรื่องการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อสะโพก เข่า และข้อเท้า การใช้อุปกรณ์ช่วย   ป้องกันการพลัดตกหกล้ม การให้ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อมในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อ การพลัดตกหกล้ม
      • ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม
  6. เจ้าหน้าที่พร้อมแกนนำสุขภาพชุมชนลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ประเมินสภาพแวดล้อมจริงที่   บ้านพร้อมทั้งแนะแนวทาง/แก้ไขลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ขั้นสรุปและประเมินผล
  7. สรุปผล/รายงานผลการดำเนินงาน ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ 2.1 เขียนโครงการ 2.2 จัดทีมคณะทำงาน 2.3 ประชุมชี้แจงคณะทำงานเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ 2.4 ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. แกนนำสุขภาพชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันภาวะพลัดตก
      หกล้มในผู้สูงอายุ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเพื่อนำไปใช้กับประชาชนในชุมชนได้ 2. ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้รับการประเมินคัดกรองความถดถอย 9 ด้าน ผู้สูงอายุ ประเมิน       คัดกรองกลุ่มเสี่ยงหกล้มในผู้สูงอายุ โดยแบบประเมิน Falling assessment tool ใช้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 15:19 น.