กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแล ห่วงใย ใส่ใจ เยี่ยมบ้าน
รหัสโครงการ 2567 - L6896 - 01 - 09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 51,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕4๐ มาตรา 78 กำหนดว่า “รัฐจะต้องกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการฯ” และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจรัฐจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น รวมถึงการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบล มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ข้อที่ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นริเริ่มจัดบริการสาธารณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น อาทิเช่น การให้บริการรักษาพยาบาลขั้นต้น บริการจากศูนย์บริการสาธารณสุข การตรวจสุขภาพเพื่อ  คัดกรองประเภทต่างๆ การสาธารณสุขเชิงป้องกัน การควบคุมโรค และการให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพแก่ประชาชน ดังนั้นองค์กรปกครองท้องถิ่นจึงเป็นองค์กรหรือกลไกของประชาชนที่สำคัญ ที่มีบทบาทในการพัฒนา        การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน ของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ     การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน เกิดขึ้นจากแนวคิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมเยี่ยมบ้าน ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน อย่างเป็นองค์รวม (holistic care) เป็นการประสานความร่วมมือของทีมงานเยี่ยมบ้าน ซึ่งประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และจิตอาสาเยี่ยมบ้าน ในการให้บริการที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง สามารถเป็นตัวอย่างของการทำงาน การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในชุมชน และมีการเชื่อมโยงระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน (Home health care) ที่เป็นรูปแบบชัดเจน เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรทางสาธารณสุข และภาคประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย เสริมพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วย การดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านแบบบูรณาการ การให้คำแนะนำและความรู้แก่ อสม ญาติ และผู้ป่วยที่บ้านจะก่อให้เกิดผลแบบองค์รวมทั้งกาย จิต และสังคม และยังมีผลต่อกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลงได้ เพื่อให้ อสม. ผู้ป่วย ครอบครัว มีองค์ความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง ครอบคลุมและต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลสุขภาพ การเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการซ้ำซ้อน อยู่อย่างมีคุณภาพ และส่งผลให้ประชาชนในชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
    ผลการดำเนินงานโครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 – สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 จำนวน 146 ราย (ข้อมูลจากโรงพยาบาลตรัง ปีงบประมาณ 2566) ลงเยี่ยมบ้านพบ จำนวน 80 ราย แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 โรคเบาหวาน จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.5 โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรความดันโลหิตสูง จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 โรคเบาหวานและโรความดันโลหิตสูง จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.25 โรคหลอดเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ6.25 โรคไตวายและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.5 โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.5 จากการลงเยี่ยมบ้าน และประเมินผู้ป่วย/ผู้ดูแล พบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพดังนี้     1) ด้านอาหารและภาวะโภชนาการ พบว่า ปรุงอาหารรับประทานเอง ร้อยละ 55.0 ซื้ออาหารสำเร็จรูป              ร้อยละ 17.5 ผู้ป่วยมีพฤติกรรมชอบอาหารรสเค็มร้อยละ 18.8
    2) ด้านการประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้ป่วย/ผู้ดูแลผู้ป่วย/ครอบครัวผู้ป่วย
      - ผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ถูกต้อง เรื่องภาวะแทรกซ้อนและภาวะฉุกเฉินของโรค ร้อยละ 21.25
      - ผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับภาวะโรคในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การฟื้นฟูสภาพ การดูแลต่อเนื่อง และการมาตรวจตามนัด ร้อยละ 5
    และจากการลงพื้นที่ ของ อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 ทำกิจกรรมสำรวจเฝ้าระวังระดับความเค็มอาหารในครัวเรือน โดยเก็บตัวอย่างอาหารที่ปรุงเองในครัวเรือนและที่ซื้อสำเร็จรูป จำนวน 204 ตัวอย่าง  พบว่ามีระดับความเค็มในอาหารเกินเกณฑ์ จำนวน 124 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 60.78  ซึ่งผู้ป่วยและผู้ปรุงอาหาร ให้ข้อมูลว่าไม่ทราบว่าระดับความเค็มในอาหารที่ตัวเองปรุงหรือซื้อสำเร็จรูปอยู่ในเกณฑ์ใด และไม่ทราบว่าความเค็มอาหารควรอยู่ที่ระดับใดจึงจะไม่เกณฑ์เกินและมีผลดีต่อสุขภาพ
    เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพดังกล่าว ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 จึงจัดทำโครงการดูแล ห่วงใย ใส่ใจเยี่ยมบ้าน ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ตลอดจนสามารถพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเอง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ได้รับการเยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพที่บ้าน

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ที่พบได้รับการเยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพที่บ้าน

2 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่/ผู้ดูแล มีทักษะความรู้ในการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่/ผู้ดูแลมีทักษะ ความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่/ผู้ดูแล ทราบค่าระดับความเค็มในอาหารที่เหมาะสม และนำไปปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้

ร้อยละ 70 ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้ดูแล สามารถปรับพฤติกรรมการปรุงอาหารได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 12,000.00                  
2 กิจกรรมตรวจวัดระดับความเค็มในอาหาร(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 39,300.00                  
รวม 51,300.00
1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 12,000.00 0 0.00
16 ม.ค. 67 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 0 12,000.00 -
2 กิจกรรมตรวจวัดระดับความเค็มในอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 39,300.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมตรวจวัดระดับความเค็มในอาหาร 0 39,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ได้รับการเยี่ยมบ้านและประเมินภาวะสุขภาพ
2.ผู้ป่วย/ผู้ดูแล มีทักษะและความรู้ ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถนำไปดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง 3.ผู้ป่วย/ผู้ดูแลทราบเกณฑ์ระดับความเค็มในอาหาร และนำไปปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 15:50 น.