กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน
รหัสโครงการ 67-L1485-3-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสรัลพร ขวัญซ้าย ตำแหน่ง ครูศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมพื้นฐานที่มีหน้าที่พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีศักยภาพ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โรงเรียนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังความรู้เจตคติและพฤติกรรมทุกๆ ด้านแก่เด็กวัยเรียน รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพ แต่เนื่องจากโรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กในชุมชนที่มาจากครอบครัวที่ต่างกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง เมื่อนักเรียนคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อมาโรงเรียน  มีโอกาสจะแพร่เชื้อโรคไปสู่นักเรียนคนอื่นๆ ได้ง่ายจากการเล่นคลุกคลีกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในโรงเรียนจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล  ซึ่งทุกฝ่ายต้องเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน เพื่อให้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ปกครองนักเรียนครู และผู้ดูแล ถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม      ด้านสุขอนามัยเด็กอย่างมาก การส่งเสริมให้บุคลากรเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา จะช่วยลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ในเด็ก และเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยในช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค.ของทุกปี มีเด็กจำนวนมากที่เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งติดมาจากทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย โรคติดต่อที่พบบ่อย ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้เพราะด้วยสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน อากาศไม่ปลอดโปร่ง เชื้อโรคต่างๆ มักจะสะสมอยู่ตามจุดอับต่างๆ ภายในห้องเรียน ก่อให้เกิดโรคติดต่อในเด็กได้ง่ายและแพร่เชื้อได้  อย่างรวดเร็ว ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวข้างต้น      จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน” เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ และนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ป้องกันควบคุมโรคที่เกิดกับนักเรียนได้อย่างถูกต้อง สามารถควบคุมการแพร่กระจายโรคได้ นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาด    ของโรคติดต่อใหม่ๆ และโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล มีความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และ โรคไข้เลือดออก

 

2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล สามารถดูแลป้องกันตนเองและครอบครัว เกี่ยวกับโรค มือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นได้

 

3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรคได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
    1. ประสานการจัดโครงการ/จัดหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
    2. ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน ประกอบไปด้วยกิจกรรม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และกิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรค แก่ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล โดยมีช่วงเวลา เนื้อหาในการอบรม ดังนี้ เวลา 09.00 – 12.00 น.  ให้ความรู้โรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และโรคไข้เลือดออก เวลา 13.00 – 16.00 น.  จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรค   4. ติดตามประเมินสุขภาวะของเด็กนักเรียน ก่อน – หลัง เข้าร่วมโครงการ   5. สรุปผลโครงการ และรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล มีความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และโรคไข้เลือดออก   2. ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล สามารถดูแลป้องกันตนเองและครอบครัว เกี่ยวกับโรค      มือ เท้า ปาก, โรคไวรัส RSV และโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นได้   3. ผู้ปกครองนักเรียน ครู และผู้ดูแล จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรคได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2567 11:18 น.