กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบาโงยซิแน ร่วมใจป้องกันภัยจากบุหรี่ และยาเสพติด ด้วย TO BE NUMBER ONE ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L4147-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาฟีฟี อาแด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด
70.00
2 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน
10.00
3 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
6.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
2.00
5 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน
55.00
6 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)
8.00
7 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
30.00
8 ร้อยละเยาวชนขาดความรู้ ความตระหนัก ถึงโทษของยาเสพติด
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีพระดำริให้มีโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด" โดยมีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ จนเป็นที่สนใจในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้พัฒนาความสามารถในด้านที่ตนถนัดด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี และการช่วยเหลือสังคม ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชน รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการ และแหล่งมั่วสุม อบายมุขต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ร้านเกมส์ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 6 - 24 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย ด้านจิตใจและมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ วัยรุ่นเป็นวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ สุรา ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของการเข้าหายาเสพติด รวมถึงการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การท้องไม่พร้อม เพื่อจะได้รู้จักการหลีกเลี่ยงจากปัญหาดังกล่าว

จากรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2559 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ประมาณตัวเลขของผู้ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดไว้ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของคนไทยที่มีประมาณ 65 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.93 พูดได้ว่าในจำนวนประชากรทุกๆ 100 คน จะมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 3 คน และ จากข้อมูลการเข้าบำบัดรักษาของประชาชนตำบลบาโงยซิแน พบว่า ปี 2555 มีผู้เข้ารับการบำบัด 29 ราย ปี 2556 มีผู้เข้ารับการบำบัด 30 ราย ปี 2557 มีผู้เข้ารับการบำบัด 1 ราย ปี 2558 มีผู้เข้ารับการบำบัด 15 ราย ปี 2559 มีผู้เข้ารับการบำบัด 2 ราย ปี 2560 ไม่มีผู้เข้าบำบัด ปี 2561 มีผู้เข้าบำบัด 6 ราย และปี 2562 มีผู้เข้าบำบัด 6 รายปี 2563 มีผู้เข้าบำบัด 4 รายปี 2564 ปี 2565 มีผู้เข้าบำบัด 3 ราย และปี 2566 มีผู้เข้าบำบัด8 ราย แต่ยังมีเยาวชนเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อยากรู้ อยากลอง โดยการสูบบุหรี่เป็นการเริ่มต้น และข้ามไปหายาเสพติดต่อไป จึงจำเป็นจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เยาวชนกลุ่มเสพ ไปมั่วสุมกลับไปมีพฤติกรรมซ้ำ สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และกลุ่มเสี่ยง เลิกยุ่งจากยาเสพติด และจากการทำเวทีประชาคม ประชาชนได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นลำดับต้นๆ โดยเฉพาะการป้องกันในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต ในการป้องกันการเริ่มต้นการติดยาเสพติดมักมาจากการสูบบุหรี่ก่อน แล้วพัฒนา ไปใช้ยาเสพติดอื่น เนื่องจาก ประชาชนขาดโอกาสในการศึกษาเป็นจำนวนมากและขาดความรู้ความเข้าใจในโทษของบุหรี่ อย่างลึกซึ้ง

ในปัจุบัน ตำบลบาโงยซิแน มีประชากรที่สูบบุหรี่จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 25.59 มีผู้สูบบุหรีที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อีกทั่งยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เสพติดการสูบบหรี่ บุหรี่มีโทษมากมายหลายอย่างโดยเฉพาะโทษต่อตัวเองและคนรอบข้างด้านสุขภาพ ซึ้งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการสูบบุหรี่ตามมา และจากการสำรวจหาข้อมูลมีคนในหมู่บ้านที่มีโรคทางเดินหายใจจากผลที่เกิดจากสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นสิ่งอันตรายต่อสูขภาพต่อผู้ที่สูบบุหรี่และคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่โดยตรง หรือทางอ้อมจากการได้รับควันบุหรี่มือสองและภัยอันตรายจากควันบุหรี่มือสาม และสารพิษที่ได้รับจากบุหรี่ อาจทำให้ทำร้ายสูขภาพต่อระบบต่างๆ เช่น ส่งผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ และระบบการไหลเวียนเลือด ชมรม TO BE NUMBER ONE ได้ศึกษาค้นหาข้อมูล และได้ให้ความสำศัญต่อภัยอันตรายของบุหรี่ ซึ่งจะนำความรู้ให้สู่หมู่บ้านกับเด็กและเยาวชนได้มีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ ที่ถูกต้อง และหลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่อันจะนำไปสู่สิ่งเสพติดอื่นๆ ต่อไป

ดังนั้น ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน แกนนำชุมชน และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน เพื่อจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เบาบางลง และหมดจากพื้นที่ในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่การเสพยาเสพติด มาจากการสูบบุหรี่ก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 10-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นกำลังสำคัญของชุมชนในอนาคต จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกัน ตามนโยบายและแนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การปัญหาดังกล่าว ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำร่วมกัน ในภาพรวมพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการป้องกันปัญหาของชุมชนเอง โดยยึดแนวดำเนินการตามโครงการ TO BE NUMBER ONE มาเติมเต็ม จึงได้จัดทำโครงการชาวบาโงยซิแน ร่วมใจป้องกันภัยจากบุหรี่ และยาเสพติด ด้วย TO BE NUMBER ONE ปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

10.00 8.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

2.00 4.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

6.00 8.00
4 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

70.00 50.00
5 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

55.00 30.00
6 เพื่อลดการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

30.00 25.00
7 เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)

8.00 4.00
8 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด บุหรี่ และการป้องกันตัวเอง

เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด  บุหรี่ และการป้องกันตัวเอง ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 85

60.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 120,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 แก้ปัญหาเยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อการเสพสารเสพติด 0 50,000.00 -
3 มิ.ย. 67 - 20 ก.ย. 67 1. รณรงค์สร้างกระแส และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านยาเสพติด บุหร่ีและการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร 0 58,000.00 -
1 ส.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน 0 12,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการป้องกันปัญหายาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ ในโรงเรียน และชุมชน
  2. ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในการเป็นแกนนำต้านภัยยาเสพติดโรคเอดส์ในชุมชนได้
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็งและปลอดจากยาเสพติดบุหรี่มือสอง และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยควร อย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2567 00:00 น.