กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปากน้ำ (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 67-L7884-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,606.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูกอยะ บินโต๊ะหีม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหาร โดยอาศัยอยู่บนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและระดับประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่นักเรียนที่เป็นเหามักจะเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ซึ่งเหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่ายทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว ดังนั้นการแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือนักเรียนต้องได้รับการกำจัดเหาและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการตรวจสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านปากน้ำ ปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 287 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 139 คน เป็นนักเรียนหญิงจำนวน 148 คน พบว่ามีนักเรียนที่เป็นเหาซึ่งเป็นนักเรียนผู้หญิงจำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 65.54 ของจำนวนนักเรียนหญิงทั้งหมดในระดับประถมศึกษา ดังนั้นโรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านปากน้ำ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาโรคเหาของเด็กในวัยเรียน เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีและแข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียนขึ้น เพื่อรณรงค์การป้องกันและกำจัดโรคเหากับเด็กในวัยเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเหาและการดูแลสุขภาพ 2. เพื่อป้องกันและกำจัดเหาของเด็กวัยเรียนในโรงเรียน
  1. ร้อยละ 8๐ ของนักเรียนหญิงได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและกำจัดเหา
  2. ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เป็นโรคเหาได้รับการดูแลรักษาและกำจัดเหา
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 1. ขั้นเตรียมการ - ประชุม วางแผน มอบหมายผู้เกี่ยวข้อง ทุกระดับ
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดเหา
- จัดทำหนังสือเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมการอบรมเรื่องการป้องกันและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน และขออนุญาตผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม “มหกรรมกำจัดเหา” 2. ขั้นดำเนินการ - ส่งหนังสือเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมการอบรมเรื่องการป้องกันและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน และขอ  อนุญาตผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม “มหกรรมกำจัดเหา” (โดยให้นักเรียนนำหนังสือไปให้ผู้ปกครอง) - จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องเหาและวิธีการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง - เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดเหาในเด็กวัยเรียน - จัดกิจกรรม “มหกรรมกำจัดเหา” ตามแผนดำเนินงานโครงการ โดยใช้ยากำจัดเหาแก่นักเรียนจำนวนทั้งหมด 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ห่างกัน 2 สัปดาห์) 3. ขั้นสรุปผล - ติดตามผลการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและการกำจัดเหาของเด็กในวัยเรียน - สรุปและประเมินผลเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา ก่อนและหลังดำเนินโครงการ           - รวบรวมปัญหา/อุปสรรค รายงานคณะกรรมการผู้เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการดูแลรักษาและกำจัดเหา 2. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเหาและการดูแลสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขลักษณะที่เหมาะสมและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ 3. นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น 4. นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2567 14:27 น.