กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 67-L1490-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 23 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 45,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1)นางสุภัชญา จันทร์เกิด 2)นางชนาธิป ลิ้นหล่อ
พี่เลี้ยงโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุขทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากภาวะนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับ และการให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขึ้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการดูแลเอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาก่อน ดังนั้น ชมรมผู้อายุเทศบาลตำบลโคกหล่อ ในฐานะกลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ที่ผ่านการอบรมเกิดความตระหนักถึงการให้ความสำคัญการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง และเกิดเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุด้วยกันเอง

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

3 เป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 45,250.00 0 0.00
12 - 26 ก.พ. 67 กิจกรรมประชุมคณะทำงานชมรมู้สูงอายุ 10 300.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 100 44,650.00 -
1 ส.ค. 67 - 22 ก.ย. 67 ประเมินผลการดำเนินโครงการ 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตนให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทางด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
  3. สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดี ต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อการดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
  4. สังคมเกิดการตระหนักในการใส่ใจดูแลผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2567 22:06 น.