กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการเฝ้าระวังและติดตามเด็ก 0-๕ ปี สูงดีสมส่วนตำบลนาพละ
รหัสโครงการ 67-L1496-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,508.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.สมญา แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าวิถีการกินของประชาชนคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนมาก ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทุกคนต้องทำงานนอกบ้านทำให้ไม่มีเวลาทำอาหารทานในบ้าน ฉะนั้นคนในสมัยนี้เลยต้องพึ่งอาหารสำเร็จรูปอย่างแกงถุง ข้าวแช่แข็ง อาหาร fast food หรือฝากท้องไว้กับร้านอาหารต่างๆ ซึ่งรวมถึงเด็กๆในครอบครัวที่จะได้รับอาหารเหมือนกับผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งการกินที่ถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการที่ดี ในทางตรงข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๓ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ในปีงบประมาณ๒๕๖๖ ไตรมาสต์ ๔ เป้าหมายเด็กที่เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ๑๘๕ คน ได้รับการเฝ้าระวังติดตาม ๑๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๓๐ ภาวะโภชนาการเทียบ อายุ/น้ำหนัก เด็กมีน้ำหนักน้อยจำนวน ๑0 คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๕๕ภาวะโภชนาการเทียบ อายุ/ส่วนสูง เด็กเตี้ยจำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๒ ภาวะโภชนาการเทียบ น้ำหนัก/ส่วนสูง เด็กอ้วน,เริ่มอ้วน,ท้วม จำนวน ๘.๓๓ เด็กผอมจำนวน 1๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๕๕ และเมื่อเปรียบเทียบทั้ง ๓ เกณฑ์เด็กส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน จำนวน ๑๑๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๖๑.๑๑ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดเกณฑ์เด็กสูงดีสมส่วน ร้อยละ ๖๖ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ โดยใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน และการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เพื่อสร้างความเข้าใจภาวะโภชนาการของบุตรหลาน จึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการเฝ้าระวังและติดตามเด็ก 0-๕ ปี สูงดีสมส่วน ตำบลนาพละ ปีงบประมาณ 256๗ ขึ้นเพื่อให้อสม.มีความรู้ความสามารถในการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง บันทึกผลและแปลผล พร้อมให้คำแนะนำส่งเสริมภาวะโภชนาการแก่ผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑. โครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ ๓. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ต่างๆในการทำกิจกรรมให้ความรู้
    ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินการ ๑. จัดประชุมให้ความรู้ อสม. การใช้เครื่องมือในการประเมินภาวะโภชนาการตามมาตรฐานกรมอนามัยกำหนด และการแปลผลภาวะโภชนาการ พร้อมให้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก/อธิบายแบบฟอร์มการประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ๐-๕ ปี ๒. อสม.ติดตามเฝ้าระวัง แปลผลภาวะโภชนาการ ๐-๕ ปี รายไตรมาสต์ จำนวน ๔ ครั้ง     ขั้นที่ ๓ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑. สรุปผลการดำเนินงาน ๒. รายงานผลการดำเนินงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม.สามารถใช้เครื่องมือในการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ได้อย่างถูกต้อง ๒. อสม. ประเมินและแปลผลภาวะโภชนาการ พร้อมให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 10:40 น.