กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้าน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รหัสโครงการ 67-L1496-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,064.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) สภาปฏิรูปได้กำหนดให้มีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนาด้านสาธารณสุข  ความรอบรู้ด้านสุขภาพส่งผลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ เมื่อบุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะมีศักยภาพในการ ดูแลตนเองได้ จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔, ๒๕๖๕, ๒๕๖๖ พบว่าประชาชนมีความเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๖.๘๕,๘.๒๙ ,๑๗.๓๐ ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ ๕.๓๓ ,๔๖.๑๔ ,๓๓.๔๒ ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีและมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมให้ถูกต้องจึงได้นำแนวคิดของความรอบรู้ด้าน สุขภาพมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนมีให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และ พัฒนาเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy  Organization) ความสำคัญในการส่งเสริมให้ ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ เล็งเห็นความสำคัญการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสร้างความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อที่เหมาะสมจึงจัดโครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านข้อมูลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อของประชาชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการ

ประชาชน๑๕ ปีขึ้นไปมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการ ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อที่เหมาะสม

ประชาชน๑๕ ปีขึ้นไปความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ร้อยละ ๘๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑. โครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการ ๓. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ต่างๆในการทำกิจกรรมให้ความรู้
    ขั้นที่ ๒ ขั้นดำเนินการ ๑. จัดประชุมให้ความรู้ กลุ่มประชาชน ๑๕ ปีขึ้นไป
๑.๑ ทำประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบประเมิน HB/HL ( Health Behavior/Health literacy) โดยกองสุขศึกษาก่อนได้รับความรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการ/ด้านพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ๑.๒ ให้ความรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการ/ด้านพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ
๒. ทำประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบประเมิน HB/HL ( Health Behavior/Health literacy) โดยกองสุขศึกษาหลังได้รับความรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการ/ด้านพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ     ขั้นที่ ๓ สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๑. สรุปผลการดำเนินงาน ๒. รายงานผลการดำเนินงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชน ๑๕ ปีขึ้นไปมีความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการได้อย่างถูกต้อง ๒. ประชาชน ๑๕ ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 11:02 น.