กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L1515-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตติมา สังข์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 ธันวาคม 2566
มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 150,808 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 227.90 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 16 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.11 จังหวัดตรัง มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,089 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 170.63 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.37 อำเภอรัษฎา
มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 44.62 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ ตำบลเขาไพร คิดเป็นอัตราป่วย 67.02 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ตำบลคลองปาง, ตำบลควนเมา, ตำบลหนองปรือ และตำบลหนองบัว คิดเป็นอัตราป่วย 46.93, 43.11, 40.54 และ 38.48 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
ดังนั้น การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและประชาชนต้องเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งทีมทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วต้องมีความพร้อมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว

ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วมีความพร้อมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว

2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 10 ต่อแสนประชากร

3 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,480.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 5,400.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 5,080.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
    1. ประชาชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    2. ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วมีความพร้อมในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 11:57 น.