กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ตำบลเทพา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5190-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ 1โรงพยาบาลเทพา
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว ศูนย์ 1โรงพยาบาลเทพา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.827196,100.968003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มวัยทำงาน
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดม (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ ๓๕ ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มวัยทำงาน ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตำบลเทพา ปี ๒๕๖๔ พบว่า เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน ๑๕๐ คน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๓๐๐คน ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๗๓๘ คน ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๓๔๔ คน คนโดยแยกเป็นในเขตเทศบาลตำบลเทพา พบว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๕๗ คน ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๑๗๐ คน เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๓๕ คน เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๘๐ คนจากสถานการณ์ของโรคดังกล่าวคลินิกเวชศูนย์1 ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
  1. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๕.๒
    2.อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ลดลง ร้อยละ ๒.๕
1.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๔๐ 2.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๕๐

1.00
3 เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

1.ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๕๐

1.00
4 4. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานทุกรายที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร ( FBS) และมีค่าน้ำตาล ๑๒๖ mg%ขึ้นไปหรือตรวจค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่อดอาหาร ๒๐๐ mg%ขึ้นไป ได้รับการตรวจ FPG
  1. กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานทุกรายที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร ( FBS) และมีค่าน้ำตาล ๑๒๖ mg%ขึ้นไปหรือตรวจค่าน้ำตาลในเลือดโดยไม่อดอาหาร ๒๐๐ mg%ขึ้นไป ได้รับการตรวจ FPG ร้อยละ ๑๐๐
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,200.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดเตรียมอุปกรณ์/ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 11,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ๒ เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ