แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)
กิจกรรม | ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ||
ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านปากคลอง,อสม.และผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ต.มะกอกเหนือ | 26 ก.พ. 2567 | 26 ก.พ. 2567 |
|
ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านปากคลอง ผู้นำชุมชน และอสม.ในเขตพื้นเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน ค้นหากลุ่มเป้าหมายจากประชาชนในพื้นที่ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ครัวเรือนที่ใช้ยาฆ่าหญ้า ในรายที่ทำนา ทำสวน เป็นต้น |
|
• คณะทำงานเข้าใจโครงการตรงกัน • มีกลุ่มเป้าหมาย |
|
ประชาสัมพันธ์โครงการ | 28 ก.พ. 2567 | 28 ก.พ. 2567 |
|
อสม.ในพื้นที่ร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการอสม.รณรงค์คัดกรองหาสารเคมีในเกษตรกร หมู่ที่ 5 เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2567 เพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายและรับสมัครกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตรกรในพื้นที่ โดยการเคาะประตูบ้านพูดคุยและแนะนำเชิญชวนเข้าร่วมโครงการด้วยกัน ตามความสมัตรใจ |
|
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ |
|
อบรมความรอบรู้สารเคมีในเกษตรกร และตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่ | 29 มี.ค. 2567 | 28 พ.ค. 2567 |
|
ช่วงที่ 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องการใช้สารเคมี การลดการใช้สารเคมี โทษของสารเคมี การปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นต้น ช่วงที่ 2. รณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วงที่ 3.เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่1 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง จะแจ้งผลการตรวจกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ผู้ที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะจ่ายสมุนไพรรางจืด เป็นเวลา 10 วัน และติดตามผลเลือดอีก 2 วัน หลังจากรับประทานรางจืด ส่วนผู้ที่มีผลเลือด อยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงจะติดตามผลเลือดอีก 1 เดือน |
|
เกษตรกรมีความรู้เรื่องสารเคมีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 91
-กลุ่มเป้าหมายได้บริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
-เกษตรกรได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด อย่างน้อยร้อยละ30 |
|
อสม.ลงเยี่ยม ติดตาม เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ | 1 เม.ย. 2567 | 1 มิ.ย. 2567 |
|
อสม.ลงเยี่ยม ติดตาม เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อพูดคุยให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน |
|
-เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ -เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน |
|
ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัย จากการตรวจครั้งที่ 1 | 11 เม.ย. 2567 | 10 มิ.ย. 2567 |
|
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัย จากการตรวจครั้งที่แล้ว เพื่อติดตามหลังการให้คำแนะนำ และหลังรับประทานรางจืดจนครบ 10 วัน ในกรณีที่มีผลเลือดยังไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง จะให้สมุนไพรรางจืด รับประทานต่ออีก 5 วัน พร้อมนัดติดตามผลอีกครั้ง |
|
-จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดที่ไม่ปลอดภัย ต้องรับยาสมุนไพรรางจืด จำนวน 3 ราย ทั้ง 3 ราย ได้รับการเจาะเลือดเพื่อหาสารพิษตกค้าง หลังการได้รับยาครบ 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 100 และระดับสารพิษจากระดับไม่ปลอดภัย ลดลงมาสู่ระดับเสี่ยง ทั้ง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 100 |
|
ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือด มีความเสี่ยง ครั้งที่ 2 | 29 เม.ย. 2567 | 24 ก.ค. 2567 |
|
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือด มีความเสี่ยง จากการตรวจครั้งที่แล้ว เพื่อติดตามหลังการให้คำแนะนำ รวมถึงติดตามหลังจากที่ปลูกผักไว้รับประทานเองผลเลือดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร |
|
-จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดจากมีความเสี่ยงลดลงร้อยละ 95 |
|
สรุปโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล | 1 ก.ย. 2567 | 1 ก.ย. 2567 |
|
-ประชุมคณะทำงานสรุปโครงการและถอดบทเรียนการทำงาน -ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม ค่าวัสดุอุปกรณเป็นเงิน 200 บาท |
|
-เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ และโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถปฎิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อจำเป็นต้องใช้สารเคมี -เกษตรกรไม่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในระดับอันตราย |
|